ประเพณีไทย ประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบ จังหวัดสมุทรปราการ
ประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบ เป็นประเพณีไทย ของอำเภอพระประแดง โดยเฉพาะ ประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบนี้เริ่มต้นมานานกว่า 30 ปี จะจัดขึ้นทุกวันที่ 13 เมษายนของทุกปี
ปัจจุบันชาวมอญในอำเภอพระประแดงมีอยู่ ๑๐ หมู่บ้าน จะมีการเวียนกันซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระการจัดงาน โดยเวียนกันเป็นประธานจัดงานปีละ ๑ หมู่บ้าน ซึ่งแต่เดิมมานั้นจะกระทำกันเฉพาะแต่ละหมู่บ้านเท่านั้น ถึงอย่างไรก็ตามเมื่อมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ เพื่อเป็นการบูชาแล้ว หมู่บ้านมอญทั้งหลายจึงร่วมมือกันจัดงานพร้อมกัน เป็นขบวนแห่แหนที่งดงามมาก ในวันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปี หมู่บ้านที่เป็นต้นแบบของประเพณีนี้ คือ หมู่บ้านทรงคนอง ซึ่งวัดประจำหมู่บ้านคือ วัดคันลัด วัดนี้มีเสาหงส์เป็นแห่งแรกในบรรดาวัดมอญทั้งหลาย เมื่อถึงเทศกาลตรุษสงกรานต์ ชาวมอญในหมู่บ้านจะช่วยกันทำธงตะขาบขึ้นแขวนบนยอดเสาที่ประดิษฐ์ด้วยตัวหงส์
ประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบ เป็น ประเพณีไทย ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษ ชาวมอญ หงส์ เป็นสัญลักษณ์ตัวแทนตำนานการกำเนิดถิ่นฐานของชาวมอญ ณ กรุงหงสาวดี (ตำนานของชาวมอญ) และตะขาบเป็นสัญลักษณ์ของคติธรรม ความเชื่อทางพุทธศาสนาที่เปรียบดังสัดส่วนในอวัยวะต่างๆของตัวตะขาบ ชาวมอญทั้ง 10 หมู่บ้านจะร่วมกันจัดทำธงตะขาบของหมูบ้านตน และหมันเวียนกันเป็นเจ้าภาพโดยมารวมตัวที่ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอพระประแดงตั้งขบวนแห่ไปตามจุดต่างๆ ของตลาดพระประแดงหลังจากเสร็จสิ้นการแห่ ชาวมอญแต่ละหมูบ้านก็จะนำธงตะขาบไปแขวนที่ธงหงส์ของแต่ละวัดในหมู่บ้าน
จากการที่ชาวมอญเป็นผู้ที่นับถือศาสนาพุทธอย่างเคร่งครัด สิ่งใดที่เป็นการกระทำเพื่อพุทธศาสนาแล้ว ชาวมอญจะต้อนรับเสมอดังเช่นธงตะขาบที่มีตำนานเล่าขานกันมาและเมื่อทำธงตะขาบแล้วก็จะนำขึ้นแขวนบนเสาหงส์ จึงถือว่าเป็นการบูชาองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า และประการสืบสาน ประเพณีไทย ต่อไป
ที่มา: หนังสือ "แนะนำประเพณีไทยท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ"
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น