วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประเพณีไทยภาคกลาง


ประเพณีไทยภาคกลาง

พระนครคีรี เมืองเพชร งานประเพณีของจังหวัดเพชรบุรี


งานพระนครคีรี เมืองเพชรเป็นงานประเพณีไทยภาคกลางของจังหวัดเพชรบุรี ที่จัดติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะในส่วนของการประดับไฟบนพระนครคีรี พร้อมทั้งจุดพลุเทิดพระเกียรติทุกค่ำคืน นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ และชมลีลาวดีล้านดอกบานสะพรั่งทั่วเขาวัง ปีละครั้ง พร้อมรับชมขบวนแห่พิธีเปิดอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวทุกท่านเดินทางมาเที่ยวชมงานในปีนี้ จังหวัดเพชรบุรี...
9

ประเพณีกำฟ้า ประเพณีชาวไทยพวน


ประเพณีกำฟ้า เป็นประเพณีไทย สำคัญตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวไทยพวน ที่อาศัยกระจายไปอยู่ในหลายภูมิภาค เช่น ลพบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี อุดรธานี หนองคาย แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ และพิจิตร เป็นต้น แม้การรวมตัวในแต่ละถิ่นไม่มากนัก แต่ทุกแห่งต่างก็สามารถรักษาวิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมดั้งเดิมไว้ได้อย่างดี ความหหมายของประเพณีกำฟ้า   กำ...
3

ประเพณีรับบัว งานประเพณีไทยของชาวจังหวัดสมุทรปราการ


ประเพณีรับบัว เป็นงานประเพณีไทยของชาวจังหวัดสมุทรปราการ เกิดขึ้นเพราะความมีน้ำใจที่ดีต่อกันของคนไทยในท้องถิ่น กับคนมอญพระประแดงซึ่งทำนาอยู่ที่ตำบลบางแก้ว ครั้นถึงช่วงเวลาออกพรรษาคนมอญจะกลับไปทำบุญที่อำเภอพระประแดง จึงได้ร่วมกันเก็บดอกบัวเพื่อให้คนมอญนำกลับไปถวายพระที่วัดนับแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวอำเภอพระประแดงและอำเภอเมืองต่างพร้อมใจกันพายเรือมาเก็บดอกบัวที่อำเภอบางพลี...
1

ประเพณีไทยขึ้นเขาเผาข้าวหลาม


เป็นประเพณีไทยการทำบุญถวายข้าวหลาม ขนมจีนน้ำยาป่าแด่พระภิกษุสงฆ์ วัดหนองบัว วัดหนองแหน ซึ่งอยู่ในเขต อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา เหตุที่ถวายข้าวหลามนั้น อาจเป็นเพราะเดือน 3 เป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าว ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา จึงนำข้าวอันเป็นพืชหลักของตนที่ได้จากการเก็บเกี่ยวครั้งแรก ซึ่งเรียกว่าข้าวใหม่ จะมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมาก นำมาทำเป็นอาหาร...
2

ประเพณีนบพระ เล่นเพลง ประเพณีประจำปีจังหวัดกำแพงเพชร


ความเป็นมาของงานประเพณีนบพระ เล่นเพลง ตั้งแต่สมัยโบราณ บริเวณซึ่งเป็นที่ตั้งของจังหวัดกำแพงเพชรเป็นที่ตั้งของเมืองต่างๆ หลายเมือง เช่น เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองคณฑี เมืองไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร และเมืองพาน ต่อมาในภายหลังเมืองต่างๆ ได้ล่มสลายไปตามความเปลี่ยนแปลงของระบบการปกครองและกาลเวลาจนกระทั่งเหลือแต่เมืองชากังราวและกลายเป็นจังหวัดกำแพงเพชรในปัจจุบัน ประเพณีนบพระ...
1

ประเพณีแห่พระบรมสารีริกธาตุวัดนางชี กรุงเทพมหานคร


ประเพณีแห่พระบรมสารีริกธาตุวัดนางชี เป็นงานบุญประเพณีประจำปีของเขตภาษีเจริญ ฝั่งธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร จัดขึ้นในวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี หลังวันงานลอยกระทงและเทศน์มหาชาติ ซึ่งในสมัยก่อน เรียกว่างานชักพระ ซึ่งแตกต่างจากงานชักพระของจังหวัดทางภาคใต้ เป็นงานชักพระแห่งเดียวที่จัดขึ้นในกรุงเทพฯ และยังแตกต่างไปจากงานชักพระทางจังหวัดภาคใต้ซึ่งเป็นประเพณีอันสืบเนื่องมาจากพระพุทธประวัติตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์เมื่อเสด็จมาจากดาวดึงษ์แล้ว...

ประเพณีตักบาตรดอกไม้จังหวัดสระบุรี


ประเพณีตักบาตรดอกไม้ จัดเป็นประเพณีไทยภาคกลางที่สำคัญ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธ ประวัติ อันเป็นการบูชาต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวคือ เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์เสด็จขึ้นไป โปรด พุทธมารดาบนเทวโลกนั้น พระองค์ได้เสด็จประทับอยู่บนเทวโลก เพื่อโปรดพุทธมารดา ตลอดพรรษานั้น บรรดา อาณาประชาราษฎร์ทั้งหลายต่างคิดคำนึงถึงพระบรมศาสดา...
2

ยิ่งใหญ่งานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร


ประเพณีไทยการทำบุญวันสารทเป็นพิธีกรรมที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามที่ปรากฏหลักฐานในหนังสือของนางนพมาศ เนื่องจากศาสนาพราหมณ์เผยแพร่เข้ามาในประเทศไทย คนไทยจึงรับประเพณีนี้มาจากศาสนาพราหมณ์ด้วย ดังที่ปรากฏหลักฐานในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ขบวนแห่กล้วยไข่ ประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร จัดขึ้นในช่วงเวลาวันสารทเดือนสิบของทุกปี...

ประเพณีไทย ประเพณีห่มผ้าพระปรางค์วัดพุทไธศวรรย์


ประวัติและความเป็นมาของวัดพุทไธศวรรย์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ในตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดพุทไธศวรรย์เป็นพระอารามหลวงที่ใหญ่โตและมีชื่อเสียงวัดหนึ่ง ปรากฏตามตำนานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างขึ้นในบริเวณที่ซึ่งเป็นที่ตั้งพลับพลาที่ประทับเมื่อทรงอพยพมาตั้งอยู่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี...
1

ประเพณีไทย ประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบ จังหวัดสมุทรปราการ


ประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบ เป็นประเพณีไทย ของอำเภอพระประแดง โดยเฉพาะ ประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบนี้เริ่มต้นมานานกว่า 30 ปี  จะจัดขึ้นทุกวันที่ 13 เมษายนของทุกปี ปัจจุบันชาวมอญในอำเภอพระประแดงมีอยู่ ๑๐ หมู่บ้าน จะมีการเวียนกันซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระการจัดงาน โดยเวียนกันเป็นประธานจัดงานปีละ ๑ หมู่บ้าน ซึ่งแต่เดิมมานั้นจะกระทำกันเฉพาะแต่ละหมู่บ้านเท่านั้น...

ประเพณีปอยส่างลอง


ประเพณีไทย ประเพณีปอยส่างลอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ประเพณีปอยส่างลองเป็นประเพณีไทยที่เกิดจากศรัทธายึดมั่นในบวรพุทธศาสนาอย่างมั่นคงของคนไตซึ่งถือว่าการที่กุลบุตรสามารถอุทิศตนบรรพชาอุปสมบทในพุทธศาสนาได้เป็นผู้มีบุญอันยิ่งใหญ่   เจ้าภาพจะยอมเสียสละ   สิ่งของ เงิน ทอง อันเป็นโลกียทรัพย์ภายนอกเท่าไรก็ได้เพื่อสนับสนุนให้กุลบุตรได้มีโอกาสพบกับอริยทรัพย์ในทางพระพุทธศาสนาคือ การบรรพชา  เสียสละ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข    มุ่งดำเนินตามอริยมรรคเส้นทางไปสู่พระนิพพาน   เป็นการเลียนแบบเหตุการณ์ตามพุทธประวัติตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์เพื่อโปรดพระประยูรญาติวันหนึ่งพระนางพิมพาถือโอกาสที่ปลอดโปร่งแต่งองค์ทรงเครื่องให้พระราหุลกุมารและส่งไปขอราชสมบัติจากพระพุทธองค์ เมื่อได้รับคำขอจากราหุลกุมารแทนที่จะพระราชทานราชสมบัติให้    พระพุทธองค์ทรงดำริว่าราชสมบัติอันเป็นโลกียทรัพย์นี้ไม่จีรังควรที่เราจะพระราชทาน อริยทรัพย์อันยั่งยืนดีกว่าแล้วทรงรับสั่งให้บรรพชาราหุลกุมารเป็นสามเณรแทนประเพณีบวชส่างลองของชาวแม่ฮ่องสอน    เปรียบเทียบได้กับประเพณีการบวชลูกแก้วของ ชาวไทยล้านนาทั่ว ๆ ไปนั่นเอง  

ประเพณีปอยส่างลองเป็นประเพณีไทยภาคเหนือที่สำคัญและยิ่งใหญ่ในความรู้สึกของชาวไทยใหญ่ที่ยึดถือปฏิบัติ สืบทอดติดต่อกันมาเป็นเวลานาน  ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเกิดจากการจำลองเหตุการณ์เรื่องราวในพุทธประวัติซึ่งชาวไทยใหญ่เลื่อมใสศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง  ประเพณีบรรพชาอุปสมบทของชาวไทยใหญ่จึงจัดอย่างใหญ่โตมโหฬาร  ถือเป็นพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ ใคร ๆ ก็อยากทำบุญ  ใคร ๆ ก็อยากเป็น “อลอง” ผู้ที่มีบุตรชายจะพยายามดิ้นรนให้บุตรของตนได้บวชเรียนให้จงได้ การบรรพชาอุปสมบทส่วนใหญ่จะจัดงานประเพณีปอยส่างลองกันทั้งนั้น มีน้อยรายที่จะบวชโดยไม่จัดงานประเพณีปอยส่างลอง   แต่การบวช “ส่างลอง” เพราะเป็นงานที่สิ้นเปลือง

สมัยก่อน ถ้าเด็กอายุเต็มบรรพชาจะนำไปอยู่วัดกับพระครู ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส  หนึ่งพรรษาก่อนบวชเพื่อเรียนธรรมคำ บรรพชา และฝึกฝนรายการบรรพชาให้พร้อมทุกประการก่อนถึงเวลาบรรพชา เด็กที่จำอยู่วัดก่อนบรรพชานี้ภาษาไตหลวง เรียกว่า”กัปปิ” หรือ  “กับปิยะ”  แต่ในสมัยนี้  ถือเอาตามระเบียบใหม่ตามกาลเวลาเตรียมการก่อนบรรพชาแค่ 15 วันหรือ 1 เดือนก็เพียงพอแล้ว  โดยเฉพาะเด็กที่กำลังศึกษาอยู่ในช่วงประถมหรือมัธยม   แต่ทว่าในชนบทยังยึดถือเป็นประเพณีไทยที่เตรียมบรรพชาข้ามพรรษา  1  เดือนเหมือนเดิมทุกอย่าง
วัตถุประสงค์การบวชประเพณีปอยส่างลอง จางลอง
1.  เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสเข้าถึงพระพุทธศาสนา  (คือการถือเป็นพุทธมามกะ)
2.  เพื่อให้เด็กได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและให้มีวิชาความรู้ในแขนงต่างๆ  และให้เด็กมีจิตใจติดอยู่ในด้าน ศีลธรรมคุณธรรมและจริยธรรมต่างๆ
3.  เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามตลอดไป
4.  อีกประการหนึ่ง  มีความเชื่อถือว่า  ถ้าได้บรรพชาเป็นส่างลอง(เป็นนาคสามเณร)จะได้แทนคุณน้ำนมมารดาข้าง หนึ่ง หรือถ้าได้อุปสมบทเป็นจางลอง(เป็นนาคพระ)จะได้แทนคุณน้ำนมมารดาทั้งสองข้าง
5.  ผู้ที่ได้รับเป็นเจ้าภาพบรรพชาหรืออุปสมบทนั้น  จะได้รับอานิสงส์มาก  เมื่อสิ้นชีพนี้ก็จะได้สมบัติใน
 สวรรค์ และตลอดถึงพระนิพพาน
6. เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศ ในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดข้างเคียงอีกด้วย
ขั้นตอนการจัดงานประเพณีปอยส่างลอง
ประเพณีปอยส่างลอง หรืองานบวชลูกแก้วนั้นเป็นพิธีการเฉลิมฉลองของการบรรพชาสามเณรในศาสนาพุทธซึ่งปกติจะมีการจัดงานตั้งแต่ 3 – 5  - 7 วัน ซึ่งงานดังกล่าวนี้จะนิยมจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงหน้าแล้งที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ว่างเว้นจากการทำนาทำไร่ และเป็นช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนของเด็กๆด้วย
ก่อนถึงวันประเพณีปอยส่างลอง อย่างน้อย 10 วัน พ่อแม่จะนำเด็กที่จะเข้ารับการบวช ไปฝากไว้กับหลวงพ่อ หรือพระอาจารย์ที่วัด เพื่อรับการฝึกสอนคำรับศีล คำให้พร คำขอบวช รวมถึงการกราบไว้ และก่อนจะเป็นส่างลอง เด็กซึ่งเป็นผู้ชายจะต้องโกนผม และอาบน้ำสะอาด หรือ น้ำเงิน น้ำทอง น้ำเพชร น้ำพลอย เพื่อเป็นสิริมงคล จากนั้นจะแต่งกายด้วยชุดเสื้อผ้าเครื่องประดับต่างๆ อย่างอลังการ มีการแต่งหน้าแต่งตาด้วยสีสันที่จัดจ้านให้ส่างลอง ดูสวยงามเสมือนเจ้าชายซึ่งมีสง่าราศีเหนือคนทั่วไป
วันแรกของประเพณีปอยส่างลอง หรือ ที่เรียกกันว่า วันเอาส่างลอง หลังจากส่างลองได้ทำพิธีรับศีลแล้ว ผู้เป็นพ่อแม่รวมถึงเจ้าภาพจะจัดเลี้ยงอาหาร 12 อย่าง เป็นมื้อแรกแก่ส่างลอง จากนั้นจะนำส่างลองแห่รอบวิหาร 3 รอบ และแห่ไปกราบคารวะศาลหลักเมือง จากนั้น ในช่วงบ่ายก็จะนำส่างลองไปคารวะตามวัดต่างๆ
วันที่สอง หรือ "วันรับแขก" ทั้งส่างลอง และเจ้าภาพ จะคอยให้การต้อนรับแขกจากที่ต่างๆ ที่ได้มีการเชิญไว้ก่อนล่วงหน้า ซึ่งจะมาร่วมทำบุญด้วย ซึ่งวันนี้จะเป็นวันที่มีการเลี้ยงฉลองแขกและญาติๆ ที่มาร่วมงานอย่างสนุกสนาน

วันสุดท้าย คือ "วันบวช" พิธีของวันนี้จะเริ่มด้วยการนำส่างลองไปแห่รอบวิหาร 3 – 7 รอบ จากนั้นจะนำส่างลองขึ้นวัดเพื่อขออนุญาตทำการบรรพชาจากพระผู้ใหญ่ เมื่อท่านเจ้าอาวาส หรือพระผู้ใหญ่ได้อนุญาตแล้ว ส่างลองก็จะพร้อมกันกล่าวคำบรรพชาและอาราธนาศีล แล้วจึงเปลี่ยนเครื่องแต่งกายจากชุดเสื้อผ้าส่างลองที่สวยงามมาเป็นผ้ากาสาวพัตร์สีเหลือง และเป็นพระภิกษุ สามเณรอย่างสมบูรณ์

ก่อนเข้าพิธีบวชหนึ่งวัน ส่างลองจะได้เข้าพิธีเรียกขวัญและการสวดคำขวัญ เพื่อให้เป็นสิริมงคลด้วย ซึ่งงานประเพณีปอยส่างลองนี้ แต่ละแห่งจะมีการจัดแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความสะดวกและลำดับขั้นตอนของที่นั้นๆ โดยเฉพาะกำหนดวัน ซึ่งที่ที่มีการจัดงานมากกว่า 3 วัน จะเลื่อนวันรับแขกออกไปวันอื่น และในช่วงการจัดงานจะมีการนำส่างลองไปเยี่ยมบ้าน หรือ ไปคารวะวัดและเยี่ยมเยือนหมู่บ้านต่างๆ  ที่ขาดไม่ได้คือ ตลอดงานจะต้องมีการแห่ส่างลอง รอบวิหารของวัดพร้อมมีการรับศีลทุกเช้าเย็น ที่สำคัญตลอดงานส่างลองจะต้องไม่แตะพื้นที่ดิน ซึ่งหากจำเป็นจะไปไหนมาไหน ผู้เป็น ตะแป หรือ พ่อส้าน จะคอยดูแลโดยให้ขี่คอ และจะมี ตะแป อีกคนคอยกางร่มให้ตลอดเวลา   

ที่มา ประเพณีไทย วิถีชีวิต ประเพณีปอยส่างลอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ประเพณีแฮกนาไถเอาฤกษ์พิธีผีตาแฮก


ประเพณีแฮกนาไถเอาฤกษ์พิธีผีตาแฮก ปลุกขวัญชาวนา

ประเพณีแฮกนา ก็คือ การลงถือไถครั้งแรกของชาวนา เป็นประเพณีไทยภาคเหนือและภาคอีสานที่ถือปฏิบัติแต่เดิม ชาวนาจะคำนึงถึงพญานาคให้น้ำในวันปีใหม่สงกรานต์ว่า ปีนี้นาคที่ให้หันหน้าไปทางทิศไหน การเริ่มไถแฮกนาจะไถตั้งหัวนาคไปหาหางนาค จะเว้นจากการไถเสาะเกล็ดนาค คือ ทวนเกล็ดพญานาค 1 และไถค้างท้องนาค 1 หมายถึงการไถที่ตระกายท้องนาค ซึ่งการไถ 2 แบบนี้ไม่เป็นมงคลการไถนั้นจะเริ่มต้นด้วยการ “ผ่าฮิ้ว” คือไถแบ่งตอน แล้วจะไถ “พัดซ้าย” หมายถึง การไถด้านซ้ายให้ก้อนขี้ไถผลักมาทางขวา แล้วต่อไปให้ “พัดขวา” คือ การไถด้านขวา ผลักขี้ไถมาด้านซ้ายและไถเรื่อยไปจนกว่าจะหมดเนื้อที่ในนานั้น


การแฮกนานั้น ถ้าถือตามประเพณีไทยที่ได้มาจากอินเดียโบราณเกี่ยวกับพระราชพิธีแรกนาขวัญนั้น เป็นพิธีที่นำมาประยุกต์ในราชสำนักของพระมหากษัตริย์ตะวันออก หลายชาติ เช่น ไทย พม่า เขมร ลาว เป็นต้น แต่ประเพณีแรกนาขวัญ ที่ยังปฏิบัติกันอยู่เวลานี้อยู่ในราชสำนักไทยเท่านั้น ซึ่งจะมีพิธีแรกนาขวัญ โดยถือเป็นราชพิธีมีรัฐบาลดำเนินการทุก ๆ ปี ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นกำลังใจแก่พลเมืองสร้างกำลังขวัญแก่เกษตรกร ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของชาติ
ประเพณีแฮกนา เป็นประเพณีตามความเชื่อที่มีความหมายเดียวกับแรกนาในภาษาไทยภาคกลาง การแฮกนา เป็นการเริ่มต้นลงมือทำนาโดยมีวัตถุประสงค์ในการบูชาแม่โพสพ เพื่อความเป็นสิริมงคลและเสี่ยงทายไปในตัวด้วย การแฮกนาในภาคเหนือนั้น มีทั้งการแฮกโดยรวมและการแฮกตามขั้นตอนการปลูกข้าว ซึ่งมี แฮกไถ แฮกหว่าน แฮกเกี่ยว และแฮกตี(นวด) พิธีกรรมในการแฮกมีรายละเอียด พอสังเขปดังนี้  
             
แฮกนา โดยรวมจะทำเป็นพิธีที่สำคัญยิ่งพิธีหนึ่ว ระยะเวลาที่นิยมจัดพิธีคือช่วงก่อนจะเริ่มไถนาในฤดูกาลนั้นๆ พ่อนาจะประกอบพิธีอ่านโองการบวงสรวงเทพารักษ์ที่ปกปักรักษาแดนนา พระแม่โพสพและพระแม่ธรณี เสร็จแล้วจะเป็นการเสี่ยงทาย เริ่มจากการสังเกตดูสร้อยสังวาล หากเห็นสร้อยสังวาลมีความยาวทายว่าปีนี้น้ำท่าสมบูรณ์ดี ถ้าเห็นสังวาลสั้นทายว่าน้ำจะน้อย ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล จากนั้นจึงไปหยิบเอาเมล็ดข้าวที่ใส่ทะนานในบริเวณพิธีมาเสี่ยงทายดูหากจำนวนเมล็ดข้าวเป็นจำนวนคู่ทายว่าข้าวกล้าในนาจะได้ผลเต็มที่ แต่ถ้าเป็นจำนวนคี่ ทายว่าข้าวกล้าจะไม่ให้ผลดีนัก เสี่ยงทายเสร็จจะนำข้าวเปลือกในพิธีหว่านในปริมณฑลของราชวัตรนั้น จากนั้นนำต๋าแหลวไปปักไว้ตามมุมกระทงนาพร้อมนำต้นดอก “เอื้องหมายนา” ไปปลูกคู่กับต๋าแหลว เพื่อสัญลักษณ์แสดงอาณาเขต หลังจากนั้นจะหาวันที่แรกไถ แรกหว่าน แรกปลูก และแรกกระทำอื่นๆ บนผืนนาจนกว่าจะแล้วเสร็จกระบวนการ 
              
แฮกไถ การเตรียมการแรกไถ ชาวล้านนามีความเชื่อเกี่ยวกับการหันหัวของพญานาค โดยเชื่อกันว่าในแต่ละช่วงเดือนพญานาคจะหันหัวไปในทิศต่างๆ การแรกไถจะไม่ไถไปในทิศทางกับหัวพญานาค คือต้องไถไปทางทิศที่เป็นหางพญานาคเท่านั้น ดังนั้น ต้องหาทิศทางของนาคด้วย คือจะต้องไม่ไถทวนหรือย้อนเกล็ดพญานาคประจำเดือนดดยเด็จขาด ที่เรียกกันว่า “ไถเสาะเกล็ดนาค” หมายถึงการฝืนหรือต้านอำนาจของพญานาคผู้ดูแลดินและน้ำ และหากไถเสาะเกล็ดนาคเชื่อว่าจะทำให้มีอันเป็นไป เช่น ไถหัก วัวควายที่ใช้ไถตื่นกลัว คนไถได้รับอันตราย ตลอดจนข้าวกล้าเสียหายไม่สมบูรณ์ ซึ่งอาจจะทำให้การปลุกข้าวในฤดูนั้นประสบปัญหา หรือเกิดภัยพิบัติต่างๆ แก่นาข้าวของตนเอง สำหรับทิศที่พญานาคหันหัวตามการนับเดือนของล้านนาคือ (เดือนทางล้านนาจะเร็วกว่าภาคกลางไป 2 เดือน)เดือน 1-3 พญานาคหันหัวไปทิศใต้เดือน 4-6 พญานาคหันหัวไปทิศตะวันตกเดือน 7-9 พญานาคหันหัวไปทิศเหนือเดือน 10-12 พญานาคหันหัวไปทิศตะวันออก
การแฮกไถเป็นการใช้ของมีคม คือผาลไถไปวอนไวกรีดลึก บนผืนดินที่พญานาคดูแลอยู่ ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญ และปฏิบัติต่อพญานาคอย่างนอบน้อม
แฮกหว่าน ก่อนจะนำเมล็ดข้าวพันธุ์ไปหว่าน จะต้องมีการหาวันที่เหมาะสมกับการหว่านตามตำรา ได้แก่ วันจันทร์ วันพุธ วันพฤหัสบดี และวันศุกร์ ในวันเหล่านี้วันพุธ ถือเป็นวันดีที่สุด รองลงมาคือวันศุกร์ สำหรับการหว่าน ท่านให้หันหน้าไปทิศตะวันตก แล้วหลับตาหว่านสัก 4-5 กำมือ จากนั้นก็ค่อยลืมตาหว่านต่อไป ด้วยถือเคล็ดที่ว่าสัตว์เป็นศัตรูข้าวพืชจะไม่สามารถมองเห็นข้าว กล้าที่หว่านและจะไม่มารบกวน เมื่อหว่านเสร็จจะประกอบพิธี “วางควักธรณี” คือวางกระทงใบตองที่บรรจุ “เข้าปั้นกล้วยหน่อย” (ข้าวเหนียวหนึ่งก้อน กล้วยสุกหนึ่งลูก) เพื่อบอกกล่าวพระแม่ธรณีเป็นการฝากฝีงให้ดูแลต้นกล้า ให้เจริญงอกงามดีไม่มีศัตรูพืชมาเบียดเบียน จากนั้นอาจนำต้นเอื้องหมายนามาปักเพื่อแสดงเครื่องหมายบอกความเป็นเจ้าของ พร้อมปักต๋าแหลว เพื่อป้องกันศัตรูพืชและนอกจากนั้นยังพบว่ามีการนำเปลือกไข่ มาครอบปลายไม่เรียวที่ปักไว้ โดยเชื่อว่าจะสามารถป้องกันศัตรูพืชประเภทเพลี้ยได้ด้วย   
            
แฮกหลก หลังจากเพระกล้าในแปลงระยะหนึ่ง ประมาณ 30-40 วัน ชาวนาจะ “หลกกล้า” คือถอนต้นกล้าไปปลูก ทั้งนี้การถอนก็ต้องตรวจหาวันที่ดีที่สุด ซึ่งตามตำราระบุว่าควรถอนกล้าในวันอังคาร วันพุธ และวันพฤหัสบดี    
           
แฮกปลูก ตามความเชื่อดังเดิม สำหรับชาวล้านนาได้ให้ความสำคัญ พิธีกรรมในการแฮกปลูก เริ่มต้นที่การหาวันดี สำหรับการปลูกโดยทั่วไปถือเอาวันอังคาร วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์ ทั้งนี้จะหลีกเลี่ยงวันที่เรียกว่า “วันถูกปากนก ปากจักแตน” และ “วันผีตามอย” วันถูกปากนก ปากจักแตน มีความหมายถือเป็นวันที่ไม่สมพงศ์กับปากนกและตั๊กแตน ซึ่งเป็นตัวแทนหรือสัญลักษณ์ของสัตรูพืช วันดังกล่าวได้แก่ วันขึ้น  5 6 7 9 12 ค่ำ และแรม 2 6 10 14 ค่ำ ของทุกเดือน ส่วนวันผีตามอย ถือเอาวันขึ้น 1 2 6 7 9 10 11 12 13 14 ค่ำ และแรม 1 2 5 7 8 10 15 ค่ำ เชื่อกันว่าหากแรกปลูกข้าวในวันดังกล่าวผีตามอยจะมาเบียดเบียนให้ต้นกล้าได้รับความเสียหาย ด้านพิธีกรรมในการแฮกปลูก จะประกอบพิธีเซ่นสังเวยเหมือนแฮกนาโดยรวม เพียงแต่ไม้สำหรับเป็นที่แขวนสังวาลที่เรียกกันว่า “คันข้าวแฮก” จะต้องเป็นไม้ที่ขวัญข้าวสถิตย์อยู่ ซึ่งในแต่ละปีขวัญข้าวจะสถิตย์ในต้นไม้ต่างๆ ตามวันสังขานต์ลอง (มหาสงกรานต์) ในแต่ละปี ดังนี้สังขานต์ลอง วันอาทิตย์ ขวัญข้าวอยู่ไม้ไผ่สังขานต์ลอง วันจันทร์ ขวัญข้าวอยู่ไม้มะเดือสังขานต์ลอง วันอังคาร ขัญข้าวอยู่ไม้ซางสังขานต์ลอง วันพุธขวัญข้าวอยู่ไม้ข่อยสังขานต์ลอง วันพฤหัสบดี ขวัญข้าวอยู่ไม้ทองกวางสังขานต์ลอง วันศุกร์ ขวัญข้าวอยู่ไม้พุทราสังขานต์ลอง วันเสาร์ ขวัญข้าวอยู่ไม้รวกเมื่อประกอบพิธีเซ่นสังเวยแล้ว พ่อนาจะปลูกข้าวเอาฤกษ์ก่อน โดยจะเลือกมุมกระทงนาที่เคยหว่านข้าวแฮก ขณะลงมือปลูกจะกล่าวคำโฉลกกำกับลงไป เช่น ปลูกต้นที่ 1 ปลูกหื้องัวแม่ลาย ปลูกต้นที่ 2 ปลูกให้ความยแม่ว้อง ปลูกต้นที่ 3 ปลูกข้าวต้นนี้เปิ้นเสียกู ปลูกต้นที่ 4 ปลูกข้าวต้นนี้เปิ้นฮ้ายกูดี หรือ ใช้คำโฉลกว่า “สุข-ทุกข์” และพยานให้เหลือต้นสุดท้ายว่า “สุข”
แฮกเกี่ยวข้าว ในฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ช่วงนี้ชาวนาภาคเหนือจะเอาเครื่องบูชาแม่โพสพซึ่งมี กระจก หวี แป้ง น้ำมันทาผม ปลาย่าง เนื้อยาง หมาก เมี่ยง บุหรี่ ธูปเทียน ดอกไม้ ของหอมนำไปบูชาแม่โพสพที่แท่นนา จากนั้นชาวนาจะหาวันดีก่อน ปล่อยให้นาแห้งเพื่อง่ายต่อการเก็บเกี่ยว แล้วขอขมาแม่โพสพอีกครั้ง โดยของเซ่นประกอบด้วย ข้าว 1 ปั้น กล้วย 1 ลูก หมากเมี่ยง บุหรี่ น้ำดื่ม แล้วอธิษฐานขอเชิญแม่โพสพไปอยู่ที่ยุ้งฉางก่อน แล้วจึงลงมือเกี่ยวข้าว
ที่มา วัฒนธรรมประเพณีไทย ภาคเหนือ สำนักวิจัย ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ pre.brrd.in.th/web

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น