วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ร่วมถวายพระพรในมหามงคลพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม


ร่วมถวายพระพรในมหามงคลพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม

พสกนิกรปลาบปลื้มพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม 5 ธันวาคม 2555 ประเพณีไทยและวัฒนธรรมไทย เชิญชวนประชาชนแต่งกายด้วยเสื้อเหลืองซึ่งเป็นสีประจำวันพระบรมราชสมภพเข้าเฝ้าฯโดยพร้อมเพรียงกัน
 พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้แถลงผลการประชุมร่วมกับศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และนายดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวังว่า ที่ประชุมได้มีการหารือเพื่อเตรียมการดำเนินงานเฉลิมพระเกียรติ บริเวณท้องสนามหลวง ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาล กรุงเทพมหานคร (กทม.) และมูลนิธิ 5 ธันวามหาราช เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม เวลา 10.30 น. ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต โดยจะเสด็จพระราชดำเนินออกจากโรงพยาบาลศิริราช เวลา 10.00 น. และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา กราบบังคมทูลพระกรุณาถวายพระพรชัยมงคล และผู้บัญชาการทหารสูงสุดกล่าวนำทหารรักษาพระองค์ถวายสัตย์ปฏิญาณ รัฐบาลจึงเห็นสมควรให้เตรียมการดำเนินงานให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสมพระเกียรติ เพื่อน้อมเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

นายดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวัง กล่าวถึงการเสด็จออกมหาสมาคมในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาปีนี้ว่า จะปฏิบัติคล้ายคลึงกับการออกมหาสมาคมครั้งสุดท้าย เมื่อเดือนมิถุนายน 2549 ซึ่งถือเป็นโอกาสพิเศษสำหรับประชาชนคนไทย เพราะพื้นที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งต่อเนื่องกับพระที่นั่งอนันตสมาคม มีความพร้อมรองรับและอำนวยความสะดวกสำหรับประชาชนได้เป็นจำนวนมาก นอกจากผู้ที่มาเฝ้าชมพระบารมีและถวายพระพรชัยมงคลบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้าต่อเนื่องจนถึงถนนราชดำเนินนอกแล้ว โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยและสื่อต่างๆ จะดำเนินการถ่ายทอดสดให้ประชาชนทั่วประเทศได้รับชม และรายงานไปยังสื่อต่างประเทศด้วย

สำหรับการแต่งกาย ที่ประชุมมีความเห็นว่า อยากเชิญชวนผู้ที่มาเฝ้าชมพระบารมีและถวายพระพรชัยมงคล ให้แต่งกายด้วยเสื้อสีเหลือง เนื่องจากวันเสด็จพระราชสมภพตรงกับวันจันทร์ ซึ่งเป็นสีเหลือง และเป็นสีประจำของพระมหากษัตริย์ไทยมาเนิ่นนาน หากประชาชนมีความพร้อมและสะดวก ขอให้มาร่วมโดยพร้อมเพรียงกัน ส่วนการอำนวยความสะดวกนั้น ได้เตรียมการดูแลอย่างรอบคอบ ทั้งการจราจร การแพทย์ เครื่องดื่มและอาหาร ทางหน่วยงานราชการจะอำนวยความสะดวกอย่างดีที่สุด และเตรียมธงที่จะโบกถวายพระพรชัยมงคลมอบให้ผู้มาเข้าร่วม ซึ่งเป็นธงพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. และธงชาติ ตามแนวที่เคยปฏิบัติมา

thaigov.go.th

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ


พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

วันพืชมงคล  (อังกฤษ: Royal Ploughing Ceremony) เป็นวันสำคัญที่กำหนดขึ้นเพื่อระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรที่มีต่อเศรษฐกิจไทย มีการจัดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพระราชพิธีโบราณ สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประกอบด้วย 2 พระราชพิธีคือ พระราชพิธีพืชมงคล และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีนี้กระทำที่ท้องสนามหลวง

ทางราชการกำหนดให้วันพืชมงคลเป็นวันเกษตรกร และกำหนดให้วันนี้เป็นวันหยุดราชการ ยกเว้นธนาคารและบริษัทเอกชนบางแห่งไม่หยุดทำการ วันพืชมงคลจะไม่ตรงกับวันเดิมตามสุริยคติหรือจันทรคติของทุกปี แต่สำนักพระราชวังจะเป็นผู้ประกาศวันพืชมงคล ให้เป็นวันใดวันหนึ่งในเดือนพฤษภาคม แล้วแต่ในแต่ละปี



พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 
เป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ เป็นพิธีพราหมณ์มีมาแต่โบราณ เป็นพิธีเริ่มต้นการไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว พระราชพิธีทั้งสองนี้ ได้กระทำเต็มรูปแบบมาเรื่อยๆ จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้เว้นไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ด้วยสถานการณ์โลกและบ้านเมืองอยู่ในภาวะที่ไม่สมควรจะจัดงานใดๆ จึงว่างเว้นไป ๑๐ ปี ต่อมาทางราชการพิจารณาเห็นว่าประเทศไทย เป็นประเทศกสิกรรม โดยเฉพาะทำนาควรจะได้ฟื้นฟู ประเพณีเก่าอันเป็นมงคลแก่การเพาะปลูก ดังนั้น ใน พ.ศ. ๒๔๙๐ จึงกำหนดให้มีพิธีพีชมงคลขึ้นอีก แต่มีแค่พระราชพิธีพืชมงคลเท่านั้น (พิธีเต็มรูปแบบว่างเว้นไปถึง ๒๓ ปี) ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ จึงจัดให้มีราชพิธีจรดพระนาคัลแรกนาขวัญ ร่วมกับพิธีพืชมงคลนับแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้จึงจัดให้เป็นวันสำคัญของชาติ

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า พิธีแรกนา เป็นพระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณตั้งแต่ครั้งสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมือไถนาเอง เป็นแต่เพียงเสด็จไปเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จไปเป็นองค์ประธาน แต่จะมอบอาญาสิทธิให้โดยทรงทำเหมือนอย่างออกอำนาจจากกษัตริย์ และจะทรงจำศีลเงียบ 3 วัน ซึ่งวิธีนี้ได้ใช้ตลอดมาถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา 

ต่อมา สมัยรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 1 ได้โปรดให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้ประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญแทนพระองค์ และมิได้ถือว่าเป็นพิธีหน้าพระที่นั่ง เว้นแต่เมื่อมีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตร สถานที่ประกอบพิธีในตอนแรก ๆ จึงไม่ตายตัว แล้วแต่จะทรงกำหนดให้ ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดมีพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้นในพระราชพิธีต่าง ๆ ทุกพิธี ดังนั้น "พระราชพิธีพืชมงคล" จึงได้เริ่มมีขึ้นแต่บัดนั้นมา โดยได้จัดรวมกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และมีชื่อเรียกรวมกันว่า "พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ" 

ส่วนพิธีกรรมนอกเหนือจากการทำให้เป็นตัวอย่าง ตามที่ทรงจำแนกไว้ 3 อย่าง 2 อย่างแรก ที่ว่า "อาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่งไม่มีโทษนับว่าเป็นการสวัสดิมงคลตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง" นั้น ทรงหมายถึง "พิธีพืชมงคล" อันเป็นพิธีสงฆ์ที่กระทำ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วนอีกอย่างหนึ่งที่ว่า "บูชาเซ่นสรวงตามที่มาทางไสยศาสตร์บ้าง" นั้น ทรงหมายถึงพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญอันเป็นพิธีพราหมณ์ 

ดังนั้น จึงพอจะสรุปความมุ่งหมายอันเป็นมูลเหตุให้เกิดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ นี้ได้ว่าพิธีแรกนามุ่งหมายที่จะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร เพื่อชักนำให้มีความมั่นใจในการทำนา อันเป็นอาชีพหลักที่สำคัญของคนไทยที่มีมาแต่ช้านานสืบมาจนปัจจุบันยังคงเป็นอยู่อย่างนั้น เพราะการเกษตรซึ่งมีการทำนาเป็นหลักนั้น เป็นสิ่งสำคัญแก่ชีวิตความเป็นอยู่และการเศรษฐกิจของประเทศทุกสมัย 

ส่วนวันประกอบพิธีนั้น ต้องเป็นวันที่ดีที่สุดของแต่ละปี ประกอบด้วย ขึ้น แรม ฤกษ์ยาม ให้ได้วันอันเป็นอุดมฤกษ์ตามตำราโหราศาสตร์ แต่ต้องอยู่ในระหว่างเดือน 6 เพราะเดือนนี้เริ่มจะเข้าฤดูฝน เป็นระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา จะได้เตรียมทำนา เมื่อโหรหลวงคำนวณได้วันอุดมมงคลพระฤกษ์ ที่จะประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแล้ว สำนักพระราชวังจะได้ลงไว้ในปฏิทินหลวง ที่พระราชทานในวันขึ้นปีใหม่ทุกปี และได้กำหนดไว้ว่าวันใดเป็นวันพืชมงคล วันใดเป็นวันจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแต่เดิมมาทำที่ทุ่งนาพญาไท เมื่อได้มีการฟื้นฟูพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นใหม่ จึงจัดให้มีขึ้นที่ท้องสนามหลวง ทั้งนี้ วันแรกนาขวัญเป็นวันสำคัญของชาติ คณะรัฐมนตรีมีมติให้หยุดราชการ 1 วัน และมีประกาศให้ชักธงชาติตามระเบียบทางราชการ 

พระราชประเพณีไทย ถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค


พระราชประเพณีไทย ถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

กระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือ กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ โดยมีหลักฐานชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยา เรือในกระบวนมีการสลักโขนเรือเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยาย มีการจัดกระบวนหลายแบบ ที่รู้จักกันดีก็คือ "กระบวนพยุหยาตราเพชรพวง" ดังปรากฏใน ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง ลิลิตพรรณนากระบวนเรือ ประพันธ์โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เมื่อ พ.ศ. 2430 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยยึดถือตามแบบแผนเดิมแห่งกรุงศรีอยุธยา
 ประเพณีไทย ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค 

กระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือ กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค  เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ โดยมีหลักฐานชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยา เรือในกระบวนมีการสลักโขนเรือเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยาย มีการจัดกระบวนหลายแบบ ที่รู้จักกันดีก็คือ "กระบวนพยุหยาตราเพชรพวง" ดังปรากฏใน ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง ลิลิตพรรณนากระบวนเรือ ประพันธ์โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เมื่อ พ.ศ. 2430 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยยึดถือตามแบบแผนเดิมแห่งกรุงศรีอยุธยา
การเสด็จทางน้ำที่เรียกว่า กระบวนพยุหยาตราชลมารค นั้นมีหลักฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ปรากฏไว้ว่า พระร่วงเจ้า (พระมหาธรรมราชา 1) ทรงใช้เรือออกลอยกระทง หรือพิธีจองเปรียง ณ กลางสระน้ำ พร้อมทั้งเผาเทียนเล่นไฟในยามคืนเพ็ญเดือนสิบสอง

ในยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตามพงศาวดารได้บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระนเรศวรเมื่อคราวเสด็จไปตีเมืองเมาะตะมะ เสด็จพระราชดำเนินจากกรุงศรีอยุธยาโดยชลมารค พอได้เวลาฤกษ์ พระโหราราชครูอธิบดีศรีทิชาจารย์ ก็ลั่นกลองฆ้องชัยให้พายเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ อันเป็นเรือทรงพระพุทธปฏิมากรทองนพคุณ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุถวายพระนามสมญา “พระพิชัย” นำกระบวนออกไปก่อนเพื่อความเป็นสิริมงคล
 ประเพณีไทย ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค 

ครั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ซึ่งตัวเกาะกรุงนั้นเป็นเกาะที่ล้อมรอบไปด้วยแม่น้ำลำคลอง ชีวิตผูกพันกับสายน้ำ จึงปรากฏการสร้างเรือรบมากมายในกรุงศรีอยุธยา ยามบ้านเมืองสุขสงบ ชาวกรุงศรีอยุธยาก็หันมาเล่นเพลงเรือ แข่งเรือเป็นเรื่องเอิกเกริก โดยเฉพาะพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยาม เมื่อจะเสด็จฯแปรพระราชฐานไปยังหัวเมืองต่างๆ หรือเสด็จฯไปทอดผ้ากฐินยังวัดวาอาราม ก็มักจะใช้เรือรบโบราณเหล่านั้นจัดเป็นกระบวนเรือยิ่งใหญ่ ดังนั้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีกระบวนเรือเพชรพวง ซึ่งเป็นเรือริ้วกระบวนที่ใหญ่มาก จัดออกเป็น 4 สาย แล้วเรือพระที่นั่งตรงกลางอีก 1 สาย ใช้เรือทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 100 ลำ
ระหว่างการเคลื่อนกระบวนก็มีการเห่เรือพร้อมเครื่องประโคม จนเกิดวรรณกรรมร้อยกรองที่ไพเราะยิ่ง คือ กาพย์เห่เรือ ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ หรือเจ้าฟ้ากุ้ง ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งบรรยายถึงความงดงาม และลักษณะของเรือในกระบวนครั้งนั้น และบทเห่เรือนี้ยังเป็นแม่แบบของกาพย์เห่เรือที่ใช้กันในปัจจุบัน
 ประเพณีไทย ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค 

พระราชพิธีเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

เอกลักษณ์ของชาติ เอกราชทางดินแดน และมรดกทางวัฒนธรรมแห่งปัญญาของสยามประเทศ ใช้เวลาบ่มเพาะมานานหลายร้อยปีจากการดำเนินพระราโชบายอันชาญฉลาดของพระมหากษัติย์ไทย ตลอดจนจากภูมิปัญญาของบรรพชนอันควรค่าแก่การเทิดทูนบูชาและ จารึกไว้ในจิตสำนึกของอนุชน รุ่นหลัง   ตั้งแต่โบราณกาล ชาวไทยผูกพันชิดใกล้กับสายน้ำมาโดยตลอด  การทำนาปลูกข้าวเพื่อเลี้ยงชีพ ต้องอาศัยน้ำสร้างบ้านแปลงเมืองก็ต้องอยู่ใกล้แม่น้ำไปมาหาสู่กันก็อาศัยน้ำนำพา เรือกลายเป็นวิถีชีวิต ของชนชาติไทยตั้งแต่สามัญชนถึงพระมหากษัติย์ จากเรือขุดเรียบง่ายที่ใช้เป็นพาหนะพัฒนาเป็นเรือที่ใช้ในการรบ  ปรับปรุงแต่งเสริมเป็นเรือพระราชพิธีอย่างงดงามวิจิตร  จึงเกิดเป็นขบวนพยุหยตราทางชลมารคที่ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน


ระดับของขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย แบ่งได้เป็น ๒ ระดับ คือ ประเพณีหลวง และประเพณีราษฎร์ 
  • ประเพณีหลวง คือ ประเพณีที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้กระทำ 
  • ประเพณีราษฎร์ คือ ประเพณีที่ราษฎร ชาวบ้านร้านตลาดจัดทำ
ศูนย์กลางของประเพณีหลวงคือ พระมหากษัตริย์ ส่วนประเพณีราษฎร์นั้น มีศูนย์กลางอยู่ที่หมู่บ้านหรือวัด 

ทั้งประเพณีหลวง และประเพณีราษฎร์ ต่างก็มีความสัมพันธ์กัน ไม่ว่าจะเป็นประเพณีที่เกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิต การทำมาหากิน การนับถือศาสนา การละเล่น วรรณกรรม และศิลปกรรมต่างๆ ตัวอย่างเช่น ประเพณีการเล่นเพลงฉ่อย โนรา และหมอลำ ประเพณีการเทศน์มหาชาติ ฮีตสิบสอง พระราชพิธีสิบสองเดือน ตลอดจนการสร้างวัดวาอาราม และการเขียนภาพในโบสถ์วิหาร

ความสัมพันธ์ของประเพณีทั้งสองระดับนั้น มีความกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตลอดมา คือ ได้มีการหยิบยืม และเลียนแบบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ประเพณีหลวงได้แบบอย่างของประเพณีราษฎร์มาขัดเกลาให้ละเอียดประณีตวิจิตร และมีความขลังศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น เพราะประเพณีหลวงรับแบบแผนมาจาก อินเดีย จีน เปอร์เซีย รวมทั้งมอญ เขมร และชวา เข้ามาผสมผสานด้วย ทำให้มีความสมบรูณ์มากขึ้น แล้วค่อยขยายอิทธิพลไปสู่ประเพณีราษฎร์อีกครั้งหนึ่ง โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางของความสัมพันธ์นี้

แต่เดิมมีประเพณีไทยพื้นบ้านเป็นพื้นฐานโดยทั่วไปอยู่แล้ว ต่อมาเมื่อตั้งขึ้นเป็นเมือง ก็จะรับอิทธิพลทั้งประเพณีพื้นบ้าน และประเพณีหลวง จนกลายเป็นประเพณีพื้นเมือง ที่มีลักษณะพิเศษขึ้นมาอีกรูปแบบหนึ่ง ที่พร้อมจะส่งอิทธิพลไปสู่ประเพณีพื้นบ้านต่อไป ดังนั้น การที่จะทำความเข้าใจประเพณีหลวง โดยละเลยการทำความเข้าใจประเพณีราษฎร์ หรือในทางกลับกัน จะศึกษาประเพณีราษฎร์ โดยไม่มีพื้นฐานความเข้าใจพัฒนาการของประเพณีหลวง ย่อมอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ เพราะจะไม่สามารถทำความเข้าใจภาพรวม ของพัฒนาการ ของวัฒนธรรมไทยได้เลย เนื่องจากโดยสภาพแวดล้อม ทั้งทางภูมิศาสตร์ สังคม และความเป็นมาทางประวัติศาสตร์แล้ววัฒนธรรมไทยมีลักษณะอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ มีความพร้อมอยู่เสมอที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่มีความแปลกและใหม่กว่า ประเพณีหลวงจึงมักมีอิทธิพลเหนือประเพณีราษฎร์อย่างมาก การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมไทยมักจะเริ่มที่ประเพณีหลวงก่อนเสมอ หรืออีกนัยหนึ่งเริ่มจากชนชั้นผู้นำก่อน แล้วจึงส่งผลมายังระดับประเพณีราษฎร์ของประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ เป็นเงาตามตัว จนทำให้ประเพณีราษฎร์ในบางท้องถิ่น สลายตัวไปในปัจจุบัน

ดังนั้น การศึกษาพัฒนาการของวัฒนธรรมไทย จึงควรศีกษา ทั้งประเพณีหลวง และประเพณีราษฎร์ เพื่อจะได้มองเห็นภาพรวมของวัฒนธรรมไทยได้ชัดเจนขึ้น เพราะวัฒนธรรมไทยมีลักษณะค่อนข้างจะอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลง พร้อมอยู่เสมอที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่มีความแปลกและใหม่กว่า เมื่อใดที่ประเพณีหลวงมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อนั้นประเพณีราษฎร์ก็มักจะได้รับอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงนั้นด้วยเสมอ ยิ่งในสมัยปัจจุบันการคมนาคมเจริญมากขึ้น สื่อมวลชน และการนิยมวัฒนธรรมสมัยใหม่ แพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ความเปลี่ยนต่างๆ ย่อมเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย

ทำบุญตักบาตรเนื่องในประเพณีวันขึ้นปีใหม่ให้มงคลแก่ชีวิต


ทำบุญตักบาตรเนื่องในประเพณีวันขึ้นปีใหม่ให้มงคลแก่ชีวิต

การทำบุญประเพณีขึ้นปีใหม่ในปัจจุบันนี้ ถือเอาวันที่ 1 มกราคมของทุก ๆ ปี ตามแบบสากลทั่วไป เป็นวันที่เราจะได้ตั้งต้นชีวิตใหม่ของปีต่อไปอีก และในเวลาเดียวกันทำให้เราได้สำรวจตัวเองย้อนหลังไป 1 ปีว่า ตลอดระยะเวลาที่ล่วงมาแล้วนั้น เราได้ประกอบกรรมดีกรรมชั่วไว้อย่างไรบ้าง และในปีใหม่ที่จะถึงนี้เราจะคิดแก้ไข หรือประกอบการงานอย่างใดต่อไปอีก การปฏิบัติตนในวันปีใหม่มีการทำบุญตักบาตรแด่ภิกษุสงฆ์ แล้วไปฟังธรรมที่วัด นอกจากนั้นยังมีการส่งบัตรคำอวยพรความสุขปีใหม่ (ส.ค.ส.) ไปยังบุคคลที่เราเกี่ยวข้อง หรือบุคคลที่เราเคารพนับถืออีกด้วย เป็นการแสดงความปรารถนาให้ผู้นั้นได้รับความร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป วันขึ้นปีใหม่จึงเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของไทย
 ประเพณีวันขึ้นปีใหม่

การทำบุญตักบาตร คือ การถวายอาหารแด่พระภิกษุสามเณร รูปเดียวหรือหลายรูป จะปฏิบัติเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวก็ได้

วัตถุประสงค์ของการทำบุญตักบาตร นอกจากจะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการให้ทานเพื่อบูชาคุณแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้
 ๑. ธำรงส่งเสริมและสืบทอดพระพุทธศาสนา
 ๒. ส่งเสริมและบำรุงพระภิกษุสามเณร ผู้ทรงศีล ทรงธรรม
 ๓. ส่งเสริมคุณความดีของผู้ปฏิบัติ ทั้งผู้ตักบาตรและพระภิกษุสามเณรผู้รับบิณฑบาตร
การตักบาตรจึงเป็นประเพณีไทยที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติ เพราะเป็นการให้กำลังแก่พระภิกษุสามเณรได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ประพฤติปฎิบัติธรรมตามพระธรรมวินัย และสั่งสอนประชาชนเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรสืบไป ทั้งนี้จะเป็นผลดีแก่ผู้ปฏิบัติด้วยเพราะทำให้เป็นผู้มีใจบุญกุศลและเป็นการส่งเสริมผุ้ทรงคุณธรรม

การทำบุญตักบาตรจะสมบูรณ์ได้ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
๑.ต้องเตรียมใจให้พร้อม ข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะบุญที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ใจของผู้ถวาย ท่านแนะนำให้รักษาเจตนาให้บริสุทธิ์ทั้ง ๓ ขณะ คือ
๑.๑ ก่อนถวาย ตั้งใจเสียสละอย่างแท้จริง
๑.๒ ขณะถวาย ก็มีใจเลื่อมใส ถวายด้วยความเคารพ
๑.๓ หลังจากถวายแล้ว ต้องยินดีในทานของตัวเองจิตใจเบิกบานเมื่อนึกถึงทานที่ตนเองได้ถวายไปแล้ว
การทำใจให้ได้ทั้ง ๓ ขณะดังกล่าวนี้ นับว่ายากมาก เพราะมีเหตุปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำให้จิตใจของเราเศร้าหมองในขณะใดขณะหนึ่งได้
๒.ผู้รับ คือ พระภิกษุสามเณร เป็นผู้สำรวมระวัง มีข้อวัตรปฏิบัติที่ดีงามตามพระธรรมวินัย ใฝ่ศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์ ทรงจำ นำมาบอกกล่าว สั่งสอนได้ และเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติเพื่อบรรเทาราคะ โทสะ โมหะ จนสามารถละขาดได้อย่างสิ้นเชิง
๓.สิ่งของที่ถวาย จะต้องได้มาด้วยวิธีที่สุจริต ไม่เบีดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน

ความหมายของวัฒนธรรมไทย


ความหมายของวัฒนธรรมไทย

 ประเพณีไทย ความหมายของวัฒนธรรมไทย มีผู้ให้คำจำกัดความของคำว่า "วัฒนธรรม" ไว้มากมาย แต่เมื่อพิจารณาถึงสาระสำคัญแล้ว สรุปได้ว่า "วัฒนธรรม" หมายถึง "แบบอย่างหรือวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนแต่ละกลุ่ม เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการอยู่ร่วม กันอย่างปกติสุขในสังคม" วัฒนธรรมแต่ละสังคมจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ และทรัพยากร ต่างๆ ลักษณะอีกประการหนึ่งของวัฒนธรรมคือ เป็นการสั่งสมความคิด ความเชื่อ วิธีการ จากสังคมรุ่นก่อน ๆ มีการเรียนรู้ และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อๆ ไปได้ วัฒนธรรมใดที่มีรูปแบบ หรือแนวความคิดที่ไม่เหมาะสม ก็อาจจะเลือนหายไป 

วัฒนธรรม(2) เป็นสิ่งที่แสดงความเป็นชาติให้ปรากฏชัดเจนขึ้น ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นทำให้คนไทย แตกต่างจากชาติอื่น ๆ มีเอกลักษณ์ประจำชาติที่เห็นได้จากภาษาที่ใช้ อุปนิสัยใจคอ ความรู้สึกนึกคิดตลอดจนการ แสดงออกที่นุ่มนวล อันมีผลมาจากสังคมไทยที่เป็นสังคมแบบประเพณีนำ และเป็นสังคมเกษตรกรรม เนื่องจาก ประชากรส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ในชนบท สภาพของสิ่งแวดล้อมที่ดี กล่อมเกลาจิตใจมีความโอบอ้อมอารี มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ เกื้อกูลซึ่งกันและกันตลอดมา 

หากแบ่งวัฒนธรรมด้วยมิติทางการท่องเที่ยวแล้ว จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ 

วัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม หมายถึงสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ ไม่สามารถมองเห็น หรือจับต้องได้ เป็นการแสดงออกในด้าน ความคิด ประเพณี ขนบธรรมเนียม แบบแผนของพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา เป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มของ ตนว่าเป็นสิ่งที่ดีงามเหมาะสม เช่น ศาสนา ความเชื่อ ความสนใจ ทัศนคติ ความรู้ และความสามารถ วัฒนธรรม ประเภทนี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิด

วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม ขึ้นได้ และในบางกรณีอาจพัฒนาจนถึงขั้นเป็น อารยธรรม (Civilization) ก็ได้ เช่น การสร้างศาสนสถานในสมัยก่อน เมื่อเวลาผ่านไปจึงกลายเป็นโบราณสถาน ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ 

หากพิจารณาความหมาย และลักษณะของวัฒนธรรมที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทที่ 2 เป็นผลผลิตของวัฒนธรรมที่มีตัวตน เป็นรูปธรรมเห็นได้ชัดเจน ส่วนประเภทที่ 3 มีสภาพแรกเริ่มมาจากแนวความคิด ความเชื่อและวิถีชีวิต ซึ่งเป็นนามธรรม แต่ได้มีการพัฒนาจนมีลักษณะทางวัฒนธรรมที่เป็นรูปแบบขึ้นมา ทำให้นัก ท่องเที่ยวสามารถสัมผัสทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทนี้ได้โดยตรง 

จึงเห็นได้ชัดเจนว่า วัฒนธรรมที่เป็นแนวความคิด ความเชื่อ เป็นนามธรรมล้วน ๆ แต่เพียงอย่างเดียว ไม่ถือว่าเป็น ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น จึงจะสามารถพัฒนาให้เป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวได้ ตัวอย่างวัฒนธรรมที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการท่องเที่ยว ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวประเภทโบราณสถาน อุทยาน ประวัติศาสตร์ ศาสนสถาน โบราณวัตถุ งานศิลปกรรม สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ การละเล่นพื้นบ้าน เทศกาลและงาน ประเพณี งานศิลปหัตถกรรมที่พัฒนามาเป็นสินค้าประจำท้องถิ่น ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และอัธยาศัยไมตรีของ คนไทย ล้วนแล้วแต่เป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย เป็นเสมือนตัวเสริมการท่องเที่ยวให้มีความ สมบูรณ์ เป็นจุดเด่นหรือจุดขายของแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ เพิ่มความประทับใจให้นักท่องเที่ยวได้มากขึ้น ถึงแม้ว่า ประเทศไทยจะมีทรัพยากรประเภทศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย แต่ก็มีการผสมผสานสอดคล้องเป็นวัฒนธรรมไทย ได้อย่างกลมกลืน 

แหล่งท่องเที่ยวประเภทโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์ แม้กระทั่งศาสนสถาน หรือโบราณวัตถุและ สถาปัตยกรรมต่าง ๆ แสดงอดีตความเป็นมาของชาติไทย ที่มีความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งมี อายุ 3-4 พันปีมาแล้ว โดยมีหลักฐานเป็นแหล่งโบราณคดีกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ต่อมาในยุคสมัยประวัติ ศาสตร์ อาณาจักรของชนชาติไทยก็รวมกลุ่มเป็นปึกแผ่นมั่นคงยิ่งขึ้นตั้งแต่สมัยทวารวดี เชียงแสน สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ เป็นลำดับ ระยะเวลาอันยาวนานนี้ ทำให้มีการสั่งสมความเจริญทางวัฒนธรรมแต่ละยุคแต่ละสมัย ต่อเนื่องกันมาโดยตลอด 

แหล่งศิลปกรรมที่มีคุณค่ายิ่งเหล่านี้ นอกจากจะมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์แล้ว ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของ ประเทศอีกด้วย บางแห่งถือเป็นแหล่งอารยธรรมระยะแรก ๆ ที่ปรากฏขึ้นในโลก มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของนัก โบราณคดี ได้แก่ แหล่งชุมชนโบราณที่บ้านเชียง จ.อุดรธานี เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูง โดยเฉพาะกลุ่ม นักท่องเที่ยวที่มีความสนใจพิเศษ (Special Interest Group) 

ในภูมิภาคเดียวกับแหล่งชุมชนโบราณบ้านเชียง ยังมีแหล่งท่องเที่ยวในรูปของสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ เป็น ปราสาทที่ก่อสร้างด้วยอิฐหรือหิน มีอาณาเขตกว้างขวาง การจัดองค์ประกอบรูปทรงเป็นระเบียบ มีการกำหนดรูป แบบทางภูมิสถาปัตย์ที่สวยงาม ตลอดจนการจำหลักลายที่ประณีตละเอียดอ่อน ปราสาทที่สำคัญ ได้แก่ ปราสาทหิน พิมาย จ.นครราชสีมา ปราสาทหินพนมรุ้ง และปราสาทหินเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์ 

ส่วนพื้นที่ภาคเหนือ มีปราสาทที่สำคัญ ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชฌนาลัย จ.สุโขทัย และอุทยาน ประวัติศาสตร์ จ.กำแพงเพชร ภาคใต้มีหลักฐานของชุมชนโบราณที่ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิด อารยธรรมอันเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของโลก

ความหมายของประเพณีไทย

ความหมายของประเพณีไทย


ความหมายของประเพณีไทย
ประเพณีไทย มีความหมายรวมถึง แบบความเชื่อ ความคิด การกระทำ ค่านิยม ทัศนคติ ศีลธรรม จารีต ระเบียบ แบบแผน และวิธีการกระทำสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนถึงการประกอบพิธีกรรมในโอกาสต่าง ๆ ที่กระทำกันมาแต่ใน อดีต ลักษณะสำคัญของประเพณี คือ เป็นสิ่งที่ปฏิบัติเชื่อถือมานานจนกลายเป็นแบบอย่างความคิด หรือการ กระทำที่สืบต่อกันมา และยังมีอิทธิพลอยู่ในปัจจุบัน

ประเพณีเกิดจากความเชื่อในสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ เช่น อำนาจของดินฟ้าอากาศ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุต่าง ๆ ฉะนั้น ประเพณี คือ ความประพฤติของคนส่วนรวมที่ถือกันเป็นธรรมเนียม หรือ เป็นระเบียบแบบแผน และสืบต่อกันมาจนเป็นพิมพ์เดียวกัน และยังคงอยู่ได้ก็เพราะมีสิ่งใหม่เข้ามาช่วยเสริม สร้างสิ่งเก่าอยู่เสมอ และกลมกลืนเข้ากันได้ดี

ประเพณี คือ ระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติที่เห็นว่าดีกว่า ถูกต้องกว่า หรือเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ใน สังคมและมีการปฏิบัติสืบต่อกันมา

ประเพณี คือ ความประพฤติที่สืบต่อกันมาจนเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ในหมู่คณะ เป็นนิสัยสังคม ซึ่ง เกิดขึ้นจากการที่ต้องเอาอย่างบุคคลอื่น ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตน หากจะกล่าวถึงประเพณีไทยก็หมายถึง นิสัยสังคม ของคนไทยซึ่งได้รับมรดกตกทอดมาแต่ดั้งเดิมและมองเห็นได้ในทุกภาคของไทย ประเพณี เป็นเรื่องของความประพฤติของกลุ่มชน ยึดถือเป็นแบบแผนสืบต่อกันมานาน ถ้าใครประพฤตินอก แบบ ถือเป็นการผิดประเพณี เป็นการแสดงถึงเอกลักษณ์ของชาติอีกอย่างหนึ่ง โดยเนื้อหาสาระแล้ว ประเพณี กับวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่กลุ่มชนในสังคมร่วมกันสร้างขึ้น แต่ประเพณีเป็นวัฒนธรรมที่มีเงื่อนไขที่ค่อนข้าง ชัดเจน กล่าวคือเป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นเป็นมรดก คนรุ่นหลังจะต้องรับไว้ และปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป รวมทั้งมีการเผยแพร่แก่คนในสังคมอื่น ๆ ด้วย


ประเพณี พจนานุกรมภาษาไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ ว่า ขนบธรรมเนียมแบบแผน
ภาพประเพณีไทย ความหมายของประเพณีไทย

  
ขนบ คือ ระเบียบแบบอย่าง
ธรรมเนียม คือ ที่นิยมใช้กันมา
รวมความแล้ว ประเพณีก็คือ “สิ่งที่คนส่วนใหญ่ในสังคมประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน เป็นที่ยอมรับและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันหาก เป็นอยู่ชั่วขณะแม้จะนิยมประพฤติกันทั่วไปก็ไม่ใช่ประเพณีเป็นแต่แฟชั่น (Fashion) ซึ่งเป็นความนิยมกันสมัยหนึ่งเท่านั้น พอหมดความนิยมก็เลิกประพฤติปฏิบัติกัน”
  
กำเนิดประเพณีไทย
ประเพณีไทยไม่ได้มีอยู่โดยธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่คนหรือสังคมโดยส่วนรวมสร้างให้มีขึ้นแล้วถ่ายทอดให้แก่กัน พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวถึงกำเนิดของประเพณีไทยว่า “เกิดจากความประพฤติหรือ การกระทำของใครคนหนึ่งหรือหลายคน ซึ่งเป็นประโยชน์และความจำเป็นตามที่ต้องการจากการกระทำเช่นนั้น คนอื่นเห็นดีก็ทำตามเป็นแบบอย่างเดียวกัน และสืบต่อเป็นส่วนรวมมาช้านานจนกลายเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมแห่งชาติขึ้น”

ประเพณีไทยที่ปฏิบัติหรืองดเว้นปฏิบัติกันในสังคมนั้น สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

๑. จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม (Mores)
หมายถึงสิ่งที่สังคมใดสังคมหนึ่งยึดถือและปฏิบัติสืบกันมาอย่างต่อเนื่องและมั่นคง เป็นเรื่องของความถูก ผิด มีเรื่องของศีลธรรมเข้ามาร่วมด้วย ใครฝ่าฝืนหรือเฉยเมยถือว่าเป็นการละเมิดกฎของสังคม ผิดประเพณีของสังคม จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรมของแต่ละสังคมย่อมไม่เหมือนกันสังคมไทยเห็นว่า การมีความสำพันธ์ก่อนแต่งงานเป็นการผิดจารีตประเพณี แต่ชาวสวีเดนเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นจารีตประเพณีเป็นเรื่องของแต่ละสังคม จะใช้ค่านิยมของสังคมใดสังคมหนึ่งไปตัดสินสังคมอื่นไม่ได้

๒. ขนบธรรมเนียมหรือสถาบัน (Institution)
เป็นระเบียบแบบแผนที่สังคมได้กำหนดไว้แล้วปฏิบัติสืบมา คือรู้กันเองไม่ได้วางเป็น ระเบียบแบบแผนไว้ว่าควรปฏิบัติกันอย่างไร มักใช้คำว่าสถานแทนขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งคนในสังคมมีความพอใจ เป็นเรื่องที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา มีข้อกำหนดบังคับเอาไว้ เช่นสถาบันการศึกษา มีครู ผู้เรียน เจ้าหน้าที่ มีระเบียบการรับสมัครเข้าเรียน การสอบไล่ ประเพณีเกี่ยวกับการเกิดการบวช การแต่งงาน การตาย มีกฎเกณฑ์ของประเพณีวางไว้ แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อจำเป็น

๓. ธรรมเนียมประเพณีหรือประเพณีนิยม (Convention)
เป็นแนวทางการปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวันที่ปฏิบัติกันมาจนเคยชิน แต่ต้องไม่ ขัดแย้งกัน เป็นเรื่องที่ทุกคนควรทำแม้มีผู้ฝ่าฝืนหรือทำผิดก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ แต่อาจถูกตำหนิไว้ว่าไม่มีมารยาท ไม่รู้จักกาลเทศะ เช่น การแต่งกาย การรับประทานอาหาร การดื่มน้ำจากแก้ว

ประเภทของประเพณีไทยที่สำคัญบางอย่าง

ประเพณีไทยที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวไทยมีตลอดทั้งปี ในที่นี้จะขอกล่าวถึงที่สำคัญหรือที่นิยมกันในปัจจุบันบางประเพณีเท่านั้น แบ่งได้กว้างๆ เป็น 3ประเภท คือ
๑.   ประเพณีไทยที่เกี่ยวกับครอบครัว เช่น เรื่องทำขวัญเดือน โกนจุก ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ บวช แต่งงาน ตาย เป็นต้น

๒.   ประเพณีไทยที่เกี่ยวกับส่วนรวม เนื่อง ด้วยเทศกาล คือ คราวสมัยที่กำหนดขึ้นเป็นประเพณี เพื่อทำบุญและรื่นเริง เช่น ตรุษ สงกรานต์ เข้าพรรษา สารท ออกพรรษา ลอยกระทง ทอดผ้าป่า ทอดกฐิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีประเพณีที่จัดขึ้นในแต่ละจังหวัดในฤดูกาลต่างๆ

๓.   รัฐพิธีและพระราชพิธี เนื่อง จากประเพณีไทยต่างๆ มีรายละเอียดมากจึงขอย่อสรุปเฉพาะประเพณีสำคัญ ที่เป็นประเพณีครอบครัวและประเพณีส่วนรวม ประเพณีไทย ๔ ภาค และจะนำมานำเสนอในโอกาสต่อไป
ที่มา:หนังสือเรียนชั้น  มัธยมศึกษาปีที่ 1 ประเพณีไทย 
กฤษณา วงษาสันต์และคณะ. วิถีไทย. กรุงเทพฯ : เฮิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น, 2542

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ความสำคัญของขนบธรรมเนียมประเพณีไทย


ความสำคัญของขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

วัฒนธรรมประเพณีของชาติ ล้วนแสดงให้เห็นถึงแนวความคิด ความเชื่อ ที่สะท้อนถึงวิถีการดำเนินชีวิต ความเป็นมา ความสำคัญ ซึ่งล้วนเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมของไทย ดังนั้นขนบธรรมเนียมประเพณีไทยจึงมีความสำคัญ พอสรุปได้ดังนี้

1. ความเป็นสิริมงคล ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยนั้น ล้วนเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาและพราหมณ์ พิธีกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมานั้น เป็นความเชื่อในเรื่องของความเป็นมงคลแก่ชีวิต

2. ความรักความสามัคคี ความเสียสละ ขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นเครื่องฝึกจิตใจให้รู้จักเป็นผู้เสียสละ จะเห็นได้จากงานบุญต่าง ๆ มกเกิดจากการร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกัน เช่น พิธีขนทรายเข้าวัด การก่อพระเจดีย์ทราย ทำให้เกิดความรัก สามัคคี

3. การมีสัมมาคารวะ ถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีไทยอย่างหนึ่ง แสดงถึงความนอบน้อม อ่อนโยน ความมีมารยาทไทย

4. ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ช่วยทำให้คนไทยอยู่ในกรอบที่ดีงาม ถือว่าเป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรมได้อย่างหนึ่ง

5. ขนบธรรมเนียมประเพณีในแต่ละท้องถิ่น ถึงแม้ว่าจะแตกต่างกัน แต่ทุกคนก็มีความรู้สึกว่าทุกคนเป็นคนไทย มีความเป็นชาติเดียวกัน และสามารถบ่งบอกถึงความเป็นมาของชาติได้

การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยประเพณีไทย


การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยประเพณีไทย

การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยประเพณีไทยนั้น  ต้องอาศัยความร่วมมือกันของคนไทยทุกคนมีวิธีการ ดังนี้
 อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยประเพณีไทย

1.  ศึกษาค้นคว้า  และการวิจัยวัฒนธรรมประเพณีไทยท้องถิ่น ทั้งที่มีการรวบรวมไว้แล้วและยังไม่ได้ศึกษา  เพื่อทราบความหมาย และความสำคัญของวัฒนธรรมประเพณีในฐานะที่เป็นมรดกของไทยอย่างถ่องแท้   ซึ่งความรู้ดังกล่าวถือเป็นรากฐานของการดำเนินชีวิต  เพื่อให้เห็นคุณค่า  ทำให้เกิดการยอมรับ  และนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ต่อไป

2.  ส่งเสริมให้ทุกคนเห็นคุณค่า  ร่วมกันรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเพณีของชาติและของท้องถิ่น เพื่อสร้างความเข้าใจและมั่นใจแก่ประชาชนในการปรับเปลี่ยนและตอบสนองกระแสวัฒนธรรมอื่นๆ อย่างเหมาะสม

3. รณรงค์ให้ประชาชนและภาคเอกชน ตระหนักในความไทย ว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้การรับผิดชอบร่วมกันในการส่งเสริมสนับสนุน  ประสานงานการบริการความรู้  วิชาการ และทุนทรัพย์สำหรับจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณี

4.  ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทยประเพณีไทย ภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยการใช้ศิลปะวัฒนธรรมที่เป็นสื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน

5. สร้างทัศนคติ  ความรู้  และความเข้าใจว่าทุกคนมีหน้าที่เสริมสร้าง  ฟื้นฟู  และการดูแลรักษา สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมไทยประเพณีไทยที่เป็นสมบัติของชาติ   และมีผลโดยตรงของความเป็นอยู่ของทุกคน

6.  จัดทำระบบเครื่อข่ายสารสนเทศทางด้านวัฒนธรรมประเพณี เพื่อเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงาน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจ  สามารถเลือกสรร  ตัดสินใจ  และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตทั้งนี้สื่อมวลชนควรมีบทบาทในการส่งเสริม และสนับสนุนงานด้านวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นด้วย

ประเพณีเดินเต่า


ประเพณีไทยท้องถิ่น ประเพณีเดินเต่า จังหวัดภูเก็ต

จังหวัดภูเก็ต เป็นเกาะซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ประกอบด้วยเกาะบริวาร 33 เกาะ เช่น เกาะสิเหร่ เกาะแก้ว เกาะมะพร้าว เกาะนาคาใหญ่ เกาะนาคาน้อย เกาะโหลน เกาะเฮ เป็นต้น และถือว่าจังหวัดภูเก็ตนี้มีเต่าขึ้นมาวางไข่ในปีหนึ่งๆ มากพอสมควร เต่าที่อาศัยอยู่ในน่านน้ำไทยมีประมาณ 5 ชนิด คือ เต่ากระ เต่าตนุ หรือเต่าจาระเม็ด เต่าตาแดง เต่าหญ้า และเต่ามะเฟือง จากการที่มีคนนิยมรับประทานไข่เต่ากันมาก จึงมีผู้ที่ไปขุดหาไข่เต่าเพื่อนำมาจำหน่าย ธรรมดาเต่าจะวางไข่ในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ และเต่าจะขึ้นมาวางไข่ในที่ที่เคยมาวางเป็นประจำทุกปี ในช่วงนี้จึงมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเฝ้าดูการวางไข่ของเต่าเป็นจำนวนมาก จึงเกิดเป็นประเพณีเดินเต่าขึ้นเต่าแต่ละตัววางไข่ในจำนวนที่ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของเต่าและความสมบูรณ์แต่ส่วนมากอยู่ในระหว่าง 70 – 120 ฟอง หรืออาจจะมากกว่านั้น ในปีหนึ่งๆ เต่าจะวางไข่ 3 ครั้ง คือขึ้นมาวางไข่ครั้งแรก หลังจากนั้นประมาณ 15 วัน จะกลับมาวางไข่ในที่เดิมเป็นครั้งที่ 2 และหลังจากครั้งที่ 2 ประมาณ 15 วัน เต่าก็จะขึ้นมาวางไข่เป็นครั้งที่ 3 เต่าจะเริ่มวางไข่ได้เมื่อมีอายุประมาณ 3 ปีขึ้นไป
 ประเพณีไทย ประเพณีเดินเต่า
ภาพประกอบ kanchanapisek.culture.go.th

ประเพณีไทยที่สำคัญของชาวจังหวัดภูเก็ตอีกอย่างคือประเพณีเดินเต่า 

การเดินเต่า เป็นประเพณีไทยดั้งเดิมของชาวภูเก็ต สมชาย  สกุลทับ (๒๕๓๑ : ๑๕๙-๑๖๑) ได้อธิบายไว้ว่า เดินเต่า คือ การเดินหาไข่เต่าที่ขึ้นมาวางไข่บนหาดทราย ในบริเวณที่มีเต่าขึ้นมาวางไข่ คือ บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก หรือฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ ทางตะวันตกของเกาะภูเก็ตโดยตลอด ทางฝั่งทะเลตะวันตกของอำเภอท้ายเหมืองและอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ประเพณีเดินเต่ามีมานานแล้ว  โดยสมัยดั้งเดิมนั้นชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงกับชายหาดต่างๆ นิยม คดห่อ(ห่อข้าว) ไปกินกันที่ชายทะเลในตอนบ่ายๆ และจะอยู่กันจนสว่าง จุดไฟผิงกันแล้วถือโอกาสหาไข่เต่าซึ่งเป็นสิ่งที่หายากและเป็นอาหารที่โอชะ การเดินเต่านั้นเดินกันได้เฉพาะฤดูวางไข่เท่านั้น คือ ประมาณเดือน ๑๑ แรม ๑ ค่ำ ราวปลายเดือนตุลาคม หรือต้นพฤศจิกายนไปจนถึงเดือน ๔ หรือ ต้นเดือนกุมภาพันธ์  การเดินเต่าแต่เดิมนั้นสามารถเก็บไข่เต่ากันได้ทุกคน  แต่สมัยหลังๆ รับบาลเก็บภาษีโดยให้มีการสัมปทานเป็นหาดๆ ไป  การเดินเต่าเพื่อเก็บไข่เต่าจึงเป็นสิทธิของผู้รับสัมปทานตามกฏหมาย และคนอื่นๆ ไม่มีสิทธิที่จะเก็บได้แต่เพียงเดินเต่าเพื่อความสนุกสนาน และดูเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่เท่านั้น
ในช่วงเวลาการเดินเต่า จะมีผู้คนคึกคักตามชายหาดเพื่อรอดูเต่าวางไข่  เต่าจะมีลักษณะพิเศษประจำตัว คือ ตัวใดที่เคยมาวางไข่บริเวณใดและในเวลาใด ก็จะมาประจำบริเวณนั้นทุกปี

ปัจจุบันเนื่องจากการขยายตัวของการท่องเที่ยวเกิดขึ้นทุกชายหาดของภูเก็ต  ประกอบกับจำนวนเต่าทะเลลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว และไม่ค่อยมีเต่าขึ้นมาวางไข่ตามชายหาด  จึงทำให้ประเพณีไทยการเดินเต่าเปลี่ยนเป็นการตั้งแค้มป์พักแรมตามชายหาด เป็นกิจกรรมเพื่อความสนุกสนาน ซึ่งไม่ใช่การเดินเต่าตามความหมายที่แท้จริงดังในอดีต

จากที่กล่าวมาข้างต้นว่าคนนิยมรับประทานไข่เต่ามากขึ้น ทำให้ปริมาณเต่าลดลง นอกจากนั้นยังมีคนฆ่าเต่าเพื่อนำเนื้อไปประกอบอาหารรับประทาน เหตุการณ์เหล่านี้อาจทำให้เต่าสูญพันธุ์ไปในที่สุด ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตระหนักถึงปัญหาข้อนี้ จึงห้ามมิให้มีการทำประมงเต่าทะเลและเต่ากระทะเลทุกชนิด แต่ก็ยังไม่สามารถรักษาพันธุ์ไว้ได้ ดังนั้นศูนย์ชีววิทยาทางทะเลภูเก็ตจึงตั้งโครงการอนุรักษ์เต่าทะเลขึ้น โดยได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจาก สำนักงานประมงจังหวัดและผู้ประมูลหาดเก็บไข่เต่าทั้งในจังหวัดภูเก็ต พังงา และจังหวัดใกล้เคียง ทั้งนี้เพื่อเพิ่มจำนวนเต่าทะเลให้มากขึ้น โดยการรับเลี้ยงและอนุบาลลูกเต่า จนถึงวันที่จะปล่อยลงทะเล นอกจากนั้นยังเป็นการทดลองเลี้ยงเต่าและหาอัตราการเจริญเติบโตของเต่าทะเลชนิดต่างๆ เพื่อส่งเสริมอาชีพประมงในการทำฟาร์มเลี้ยงเต่าต่อไป รวมทั้งเป็นการศึกษาการแพร่กระจายและแหล่งหากินของเต่าทะเลชนิดต่างๆ โดยติดเครื่องหมายที่เต่าแล้วปล่อยลงทะเล ซึ่งเป็นประโยชน์ในการอนุรักษ์ต่อไปด้วยเหตุนี้ จึงจัดให้มีประเพณีปล่อยเต่าลงทะเลขึ้น และปฏิบัติประเพณีสืบต่อมาเป็นประจำทุกปี
เดิมนั้นจัดให้มีขึ้นในวันใดวันหนึ่ง แล้วแต่ความเหมาะสม โดยกระทำกันที่สถานที่ที่เต่าชอบขึ้นมาวางไข่ ต่อมาทางจังหวัดภูเก็ตได้กำหนดให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปี เป็นวันขยายพันธุ์ปลาแห่งชาติ และกำหนดให้เป็นวันปล่อยเต่าด้วย สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ thai.tourismthailand.org

การปล่อยเต่านั้นเดิมจัดขึ้นที่หาดป่าตอง ต่อมาเปลี่ยนมาจัดที่หาดไนยาง ซึ่งเต่าได้ขึ้นมาวางไข่เป็นประจำทุกปี พิธีเริ่มด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้เป็นประธานในพิธีจะทำการปล่อยเต่าเป็นคนแรก จากนั้นชาวบ้านและนักท่องเที่ยวนำเต่าเล็กๆ โดยขอจากสถานีประมง หรือบริจาคเงินสมทบทุนโครงการอนุรักษ์เต่าทะเลตามแต่ศรัทธา นำไปปล่อยลงทะเล เต่าที่ปล่อยมีอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป

นอกจากประเพณีปล่อยเต่าแล้วยังมีประเพณีไทยการละเล่นอื่นๆของชาวบ้าน เช่น มวยทะเล รำกลองยาว ชักเย่อ และการละเล่นอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้กรมประมงได้จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเต่าทะเล และสัตว์ทะเลอื่นๆ ให้ชมกันในงานด้วย

ที่มาประเพณีไทย วิถีชีวิต จังหวัดภูเก็ต ประเพณีเดินเต่า

ประเพณีชิงเปรต


ประเพณีไทย ประเพณีชิงเปรต จ.นครศรีธรรมราช

ประเพณีชิงเปรต เป็นประเพณีไทยของภาคใต้ที่กระทำกันในวันสารท เดือน ๑๐ เป็นประเพณีไทยสำคัญที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว
 ประเพณีไทยชิงเปรต
ภาพประกอบจาก imageshack.us
พระยาอนุมานราชธนได้ให้ ความหมายของประเพณีชิงเปรต ไว้ในสารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า การชิงเปรตที่ปฏิบัติกันในประเพณีสารทเดือน ๑๐ นี้ มีลักษณะคล้ายกับการทิ้งกระจาดของจีน แต่การทิ้งกระจาดของจีนมีเป้าหมายตรงกับการตั้งเปรต-ชิงเปรตเพียงบางส่วนเท่านั้น กล่าวคือการทิ้งกระจาดของจีนเป็นการทิ้งทานให้แก่พวกผีไม่มีญาติ ส่วนการชิงเปรตของไทยเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปให้ทั้งผี(เปรต) ที่เป็นญาติพี่น้องของตนเอง และที่ไม่มีญาติด้วย นอกจากนี้วิธีการปฏิบัติในการทิ้งกระจาดและการชิงเปรตก็แตกต่างกันด้วย
 ประเพณีไทยชิงเปรต
ภาพประกอบจาก imageshack.us
ประเพณีชิงเปรตวันสารท เป็นประเพณีไทยที่ดำรงอยู่บนความเชื่อของการนับถือผีบรรพบุรุษที่ว่า บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว หากยังมีบาปอยู่จะกลายเป็นเปรตในนรก ปีหนึ่งจะถูกปล่อยให้มาเมืองมนุษย์ 15 วัน โดยมาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งถือว่าเป็นวัน " รับเปรต" หรือวันสารทเล็ก ลูกหลานต้องเตรียมขนมมาเลี้ยงดูให้อิ่มหมีพีมัน และฝากกลับไปเมืองเปรต ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 นั้น คือวันส่งเปรต กลับคืนเมืองเรียกกันว่าวันสารทใหญ่ต้องทำขนม คาวหวาน ขนมนมเนยครบถ้วน ยิ่งกว่าวันรับเปรตไปวัด โดยตั้งเปรตนอกวัด ให้พระท่านส่งเปรตกลับเมือง ลูกหลานจะจุดธูปเทียน ระลึกถึงเปรต พร้อมกับหมายตาไว้ว่าใครอยากได้อะไรจากวงตั้งเปรต ทันทีที่บรรดาผู้ใหญ่ลุกขึ้น เด็ก ๆ ก็จะเข้าแย่งชิงอาหาร หรือเงินที่วางไว้เป็นที่สนุกสนาน เรียกว่า " ชิงเปรต" เชื่อกันว่าใครได้กินอาหารเดนเปรตจะได้กุศลมาก ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนได้ยืนยันว่าการชิงเปรตไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรตแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่าเป็นการทำบุญด้วยซ้ำไป เพราะชื่อว่าบุตรหลานของเปรตตนใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนนั้น เพียงแต่ว่าผู้ชิงต้องระมัดระวังในการที่อาหารหรือขนมที่ตั้งเปรตอาจตกหลานลงพื้น ซึ่งจะทำให้เกิดความสกปรกและเป็นอันตรายต่อสุขภาพเท่านั้น
ประเพณีชิงเปรตทำบุญวันสารท เดือน ๑๐ กำหนดทำ ๒ ครั้ง คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และวันแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ โดยเชื่อว่า วันแรม ๑ ค่ำ เป็นวันที่ยมบาลปล่อยให้เปรต หรือเปตชนขึ้นมาเยี่ยมลูกหลาน ๆ ก็จะทำบุญเลี้ยงต้อนรับ เมื่อถึงวันแรม ๑๕ ค่ำ ก็ถือว่าเป็นวันที่ปู่ย่าตายาย ต้องกลับยมโลก ลูกหลานก็ทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง
ประเพณีชิงเปรต จ.นครศรีธรรมราช เป็นประเพณีไทยที่ถือปฏิบัติกันมาแต่โบราณ เป็นประเพณีไทยสำคัญที่กระทำกันจนทุกวันนี้ แม้จะไปทำมาหากินในท้องถิ่นอื่น เมื่อถึงเดือน ๑๐ ก็มักจะกลับมาร่วมพิธีกับญาติทางบ้าน นับเป็นการช่วยเสริมการผูกพันระหว่างครอบครัวและญาติพี่น้อง ทั้งยังเป็นการระลึกถึงบุญคุณ และคุณงามความดีของบรรพบุรุษของตน แม้จะล่วงลับไปแล้วก็ตาม