วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กะเหรี่ยง (KAREN)

ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการอพยพจากประเทศจีน

ในด้านประวัติศาสตร์ ชนชาติกะเหรี่ยงสืบเชื้อสายมาจากมองโกล เป็นชนเผ่าแรกสุด หรือที่ชนชาติไทยเรียกว่า “ยาง” นั้น ตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ติดกับต้นน้ำแม่น้ำแยงซีเกียง ในทะเลทรายโกบีซึ่งรู้จักกันว่า Htee – Hset – Met - Ywa (หทิ หเช็ท เม็ท ยว่า) “Land or the Flowing Sand” (ดินแดนแห่งทรายไหล)
จากสถานที่ดังกล่าวนี้เอง ชนชาติกะเหรี่ยงได้อพยพสู่ทางใต้ เข้ามาตั้งหลักแหล่งพำนักอาศัยอยู่ในพื้นที่ในชัยภูมิซึ่งเป็นประเทศพม่าขณะนี้ ประมาณ พ.ศ.739 หรือประมาณ 1,788 ปี ก่อนคริสตกาลมาแล้ว
นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ มีความมีเห็นสอดคล้องต้องกันว่า ชนชาติกะเหรี่ยงหรือยาง คือชนเผ่าแรกสุดที่อพยพ โยกย้ายถิ่นทำมาหากินร่นลงมาสู่ตอนใต้มาตั้งรกรากใหม่ กะเหรี่ยงได้ขนานนามผืนแผ่นดินใหม่นี้ว่า “KOW-LAH (กอลาห์)” หมายถึง ดินแดนที่เขียวขจี มีความชุ่มชื้น ชนชาติกะเหรี่ยงจึงได้เริ่มหักร้างถางพง ไถพรวนพื้นดิน ลงมือเพาะปลูกโดยไม่มีอุปสรรคใด ๆ ขัดขวางทั้งสิ้น ผลิตผลจากหยาดเหงื่อแรงงาน ได้ให้ผลตอบแทนต่อพวกเขาอย่างน่าชื่นชม ด้วยสาเหตุอันนี้ชนชาติกะเหรี่ยงจึงได้เปลี่ยนแปลงชื่อของแผ่นดินที่ให้ความอุดมสมบูรณ์ต่อเขาว่า “ก่อทูเล” คือ รัฐที่สลัดทิ้งทั้งสิ้นซึ่งความชั่วเลวทราม,ความอดอยากยากแค้น,ความสลดสังเวชและการโกลาหลอลหม่าน ซึ่งจะไม่มี ณ.ดินแดนแห่งนี้ “ก่อทูเล” คือดินแดนใหม่ที่สวยสดงดงามแสนสะดวกสบาย พรั่งพร้อมอุดมสมบูรณ์โดยไม่รู้จักความยุ่งยาก ชนชาติกะเหรี่ยง ได้ดำรงชีพอยู่กันมาช้านานหลายศตวรรษ ตราบจนการเข้าแทรกแซงก่อกวนของชาวพม่าเกิดขึ้น จึงการต่อสู้เข่นฆ่า ทำลายวิถีชีวิตที่ใฝ่แสวงแต่สันติของชนชาติกะเหรี่ยงจนพินาศพังทลายลง
คีรีมาต ชื่อจริงว่า “พุ่งเลียงมิชชั่นนารี" ชาวตะวันตกเชื่อว่า บ้านเมืองเดิมของชาวกะเหรี่ยงอยู่ทางตะวันตกของจีน ในเขตกวางสีก่อนที่พวกเขาจะอพยพสู่ดินแดนที่พวกเขาอาศัยอยู่ในปัจจุบัน ชาวจีนเชื่อว่าแม่น้ำแยงซีเกียงว่า “แม่น้ำของพวกยาง หรือแม่น้ำของพวกกะเหรี่ยง”
ชนชาติกะเหรี่ยงเข้าสู่ดินแดนอินโดจีนตามสายน้ำสำคัญ 3 สาย คือ พวกแรกเมื่อ 128 ปี ก่อนคริสตกาล กลุ่มที่สองเข้ามาเมื่อ 799 ปี ก่อนคริสตกาล และกลุ่มสุดท้ายเข้ามาเมื่อ 741 ปี ก่อนคริสตกาล การอพยพเข้ามาในเส้นทางที่1 ชาวกะเหรี่ยงกลุ่มนี้อพยพเข้าไปในดินแดนที่ประเทศพม่าในปัจจุบัน ตามสายน้ำ อิระวดี ลงไปตามที่ราบลุ่มปากแม่น้ำอิระวดีหรือเดลต้า ในพื้นที่เมืองแปร, เฮนซาดะ, พะสิมหรือบะเส่ง, เมืองละเกิงหรือย่างกุ้ง ชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่แห่งนี้เป็นกลุ่มที่ได้รับการศึกษาสูงในสมัยที่อังกฤษปกครองพม่า “ซอ บา อู ยี” ผู้นำชาวกะเหรี่ยงเป็นคนที่พะสิม การอพยพเข้ามาในเส้นทางที่ 2 ชาวกะเหรี่ยงกลุ่มนี้อพยพเข้ามาตามสายน้ำ สาละวิน แม่น้ำโตง แม่น้ำเมย และแม่น้ำตะนาวศรี โดยมีชุมชนที่หนาแน่นอยู่ที่ เมืองตองอู, ผาปูน, ผาอ่าง, ท่าตอน, เมาะละแหม่ง, พะโค (หงสาวดี) กะเหรี่ยงกลุ่มนี้อยู่ปะปนกับชาวมอญ จึงถูกเรียกว่า ตะเลงกะยิน หรือกะเหรี่ยงโพล่ง ส่วนกะเหรี่ยงสะกอนี้อยู่ปะปนกับพวกพม่ามากจึงถูกเรียกว่า บาม่ากะยิน เมืองที่สำคัญเป็นที่กล่าวถึงของกะเหรี่ยง คือ ตองอู ซึ่งเป็นเมืองเก่าดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยงสะกอ ส่วนกะเหรี่ยงโพร่งนั้นมีเมืองดั้งเดิมที่บรรพบุรุษของพวกเขาได้ตั้งหลักฐานมั่นคง เรียกเมืองนั้นว่า กวยเกอบ่อง (กวยเก่อบอ) เมืองดูยอ ณ.ที่เมืองนี้เป็นพื้นที่ราบ มีภูเขาหินตั้งอยู่เด่น เป็นสง่าท่ามกลางที่ราบเป็นที่นาเวิ้งว้าง พวกเขาถูกพม่า, มอญ และคนไทย กวาดต้อนกระจัดกระจายไปตามที่ต่างๆ พวกเขามีความเชื่อว่า สักวันหนึ่งพวกเขาจะได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้งที่เมืองกวยเกอบ่อ
การอพยพเข้ามาในเส้นทางที่ 3 ชาวกะเหรี่ยงกลุ่มนี้อพยพเข้ามาตามสายน้ำ แม่น้ำโขง, แม่น้ำเจ้าพระยา เข้ามาอยู่ในอินโดจีน คือ ในดินแดนกัมพูชาและถอยร่นกลับขึ้นมาทางเหนืออีกครั้ง ในพงศาวดารพม่า โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ กล่าวว่า พวกตองซู่ (กะเหรี่ยงปะโอ) นี้เป็นมนุษย์ขั้นแดนข้างเคียงรู้จักกันมาก รู้จักกันทั่วกรุงสยามและเมืองเขมรจนกระทั่งแถบแม่น้ำโขงตอนล่าง ราวเมืองนครจำปาศักดิ์และแก่งพันเกาะ (หลี่ผี) ในหัวเมืองไทใหญ่
หนังสือพงศาวดารพม่า และในหนังสือชนชาติไทย
ซึ่งมิชชั่นนารีคณะแพทย์ชาวอเมริกันชื่อ ดอกเตอร์ วิลเลี่ยม คลิฟตันดอดด์ ซึ่งเดินทางเข้ามาไปในแคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนาน ประเทศจีน ได้เขียนไว้ว่า คำว่า “ยวน” หาใช่ชื่อใหม่ไม่ เป็นชื่อที่ชนอยู่ถิ่นใกล้เคียงโดยรอบใช้เรียกกันตั้งแต่ดึกดำบรรพ์มาแล้ว ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อชนชาติไทยอพยพลงมาจากประเทศจีนในตั้งแรกตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล (ศตวรรษที่1 แห่งพุทธศักราช) ชาติอ้ายลาวได้ตั้งแคว้นขึ้นทางตะวันออกของแม่น้ำสาละ-วิน ในท้องที่ที่เป็นของพวกยางหรือกะเหรี่ยง (ยวน,ยาง, ปกาเกอะญอ เป็นชื่อเรียกชนชาติกะเหรี่ยง) คำว่า “ยาง” เป็นคำที่พวกลั๊วะหรือละว้าเรียกกะเหรี่ยงเป็นพวกแรก (ซึ่งรากของคำว่า ปกาเกอะญอ ผู้เรียบเรียง) และมีพวกยวนหรือกะเหรี่ยงเป็นตั้งภูมิลำเนาอยู่ก่อนแล้ว แคว้นยวนหรือกะเหรี่ยงที่กล่าวมานี้มีอาณาเขตกว้างขวาง ตั้งแต่แม่สาละวินจนถึงแม่น้ำโขงและเลยไปจนถึงแดนเขมรตอนใต้ กล่าวกันว่าถิ่นเป็นที่อุดมสมบูรณ์มาก เมื่อชาติอ้ายลาวได้มาสวามิภัคดิ์ต่อเจ้าผู้ปกครองนครแคว้นยวนหรือกะเหรี่ยงแล้ว ก็ได้รับอนุญาตให้ตั้งภูมิลำเนาอยู่ได้ ก่อนเวลาที่ถึ่งกลางศตวรรษที่กล่าวนั้นชาติอ้ายลาวได้ตั้งเมืองใหญ่หลายเมืองในท้องที่ของยวนหรือกะเหรี่ยงตามตำนานของแคว้นยวนหรือกะเหรี่ยงนั้น กล่าวว่าก่อนคริสตศักราชที่ 543 ปี ชาติอ้ายลาวได้ต่อสู้กับพวกกะเหรี่ยงเป็นเวลานานจนสามารถสลัดออกจากอำนาจของกะเหรี่ยงได้เป็นใหญ่ในแคว้นยวน คำว่า เชียงใหม่ ต้นภาษากะเหรี่ยง ดังมีกล่าวไว้ในตำนานว่า “ต์ชิงใหม่” และเป็นชื่อเมืองของกะเหรี่ยงครั้งโบราณ (หน้าที่ 142-143) คนกะเหรี่ยงภาคเหนือเรียกชาวเชียงใหม่ว่าล้านนาว่า “โย” และเรียกคนไทยว่า “จ๊อมแต๊ก” คงมาจากคำว่า “ยวนหรือโยนก” และเรียกเมืองเชียงใหม่ว่า “เวกีแม” คำว่า “เว” คือคำว่าเมืองนั่นเอง และเมื่อชนกะเหรี่ยงสิ้นอำนาจก็กระจัดกระจายไปอยู่ในที่ราบสูงตามภูเขาและรากเหง้าที่ต่างๆ
“ ถ้าภาษาของเราสูญหาย….เผ่าพันธุ์ของเราก็จะสาบสูญไปด้วย ” จากคำกล่าวของ ดอกเดอร์ ซาน ซี โพ ปัญญาชนชาวกะเหรี่ยง ซึ่งมีชีวิตอยู่ในสมัยที่อังกฤษปกครองพม่าได้กล่าวไว้
ดอกเดอร์ ซาน ซี โพ อดีตนักศึกษากะเหรี่ยงเป็นผู้รวบรวมเรื่องราวต่างๆ ของชาวกะเหรี่ยงไว้ให้เยาวชนรุ่นต่อๆ มาได้ศึกษา ผู้ขุดรากเหง้าตำนานชาวกะเหรี่ยงเล่าสู่กันต่อๆ กันมาว่า ดินแดนดั้งเดิมกะเหรี่ยงนั้นว่าอยู่ที่ไหน และคำศัพท์เหล่านั้นแปลว่าอะไร เช่น คำว่า “ที้ (น้ำ) ฉิ (ซัดพัดพาไป) หมิ (ทราย) หยั่ว (ไหล) รวมความซึ่งแปลว่า ดินแดนที่น้ำซัดพัดพาทรายไหล” บรรพบุรุษกะเหรี่ยงบอกว่าอยู่ทางเมืองจีน ซึ่งสันนิษฐานว่าคือดินแดนทะเลทรายโกบี ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของมองโกเลีย ปัจจุบันนักประวัติศาสตร์จำนวนมากว่าชนชาติกะเหรี่ยงเป็นชนในเชื้อชาติมองโก การอพยพเข้ามาสู่ดินแดนในอินโดจีนของชนชาติกะเหรี่ยงนั้น นักประวัติศาสตร์ตามหุบเขากะเหรี่ยงกลุ่มนี้จะกลับมาอยู่ในที่สูง ในรัฐกะเร็นนี ในปัจจุบันเป็นเผ่า ปะโอ (ตองซู่) กะยาหรือกะเหรี่ยงแดง
เอกสาร พงศาวดารพม่า โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
กล่าวว่า กะเหรี่ยงเป็นมนุษยชาติในกรุงจีน เกิดจากเชื้อสายเจ็ก(คำว่า”เจ๊ก”นี้คนจีนไม่ชอบเพราะถือว่าเป็นคำหยาบคาย,คำดูถูก)หรือไม่ปรากฏถูกพวกไทยไล่ต้อนตะเพิดลงมาทางใต้ ทั้งภายหลังถูกพวกมอญและพม่าไล่กลับคืนถอยหลังไปบนเขาอีก กะเหรี่ยงเอื้อมว่าพวกตนเป็นมนุษย์ชาติแรกที่ตั้งอยู่ในหัวเมืองแถบกรุงอังวะก่อนเพื่อน กลางพุทธศักราชที่ 11 หรือ 12 จึงผ่านไปข้างในและแผ่ออกไปตามป่าลำเนาเขาเชินระหว่าง อิระวดี, สาละวิน,เจ้าพระยา (หน้า121)
พวกต่องซู่ (ปะโอ) ชนชาวกะเหรี่ยงอีกกลุ่มหนึ่ง วันที่พวกเขาอพยพขึ้นมาสู่เมืองเขาเชินนั้น พระเจ้ามนูหะเสียพระนครแก่พระเจ้าอโนรธามังฉ่อเจ้ากรุงพุกามใหม่ยกไปราวี ภาษาของพวกต่องซูผสมกันระหว่างภาษากะเหรี่ยงกับพม่า ต่องซูล้วนนับถือพระพุทธศาสนา (หน้า 138)
เอกสาร “พงศาวดารเมืองเชียงตุง” โดยบุญช่วย ศรีสวัสดิ์
ข้อที่ว่านิยามเรื่องน้ำเต้าอย่างเดียวกันในไทใหญ่นั้นเป็นความจริง พงศาวดารเมืองเชียงตุง เขียนเล่าถึงกำเนิดมนุษย์จากน้ำเต้าใบเดียวกัน พวกละว้ามาก่อน ยางหรือกะเหรี่ยงออกมาเป็นพวกที่สอง แล้วจึงคนไตและอื่นๆ ไตจึงเป็นน้องของละว้าและยาง เห็นได้ว่าตำนานนี้ยางเพิ่มเข้ามาอีกพวกหนึ่ง ทั้งนี้เพราะในสหภาพพม่ามีชาวยางหรือกะเหรี่ยงนับจำนวนเป็นล้าน (หน้าที่ 318 ความเป็นมาของคำว่า สยาม ไทย ลาว และขอม โดยจิตร ภูมิตร)
เอกสาร “ประชุมตำนานลานานาไทย” โดยสงวน โชติสุขรัตน์
อาณาจักรโยนกนาคพันธุ์ พวกขอมดำได้ปกครองและสร้างเมืองฝ่ายเหนือคือ ”ศรีสุวรรณโคมคำ” ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงต่อมาสร้างเมืองอุโมงค์เสลานคร ขั้น ณ ปลายเขา แม่กก ห่างจากเมืองสุวรรณโคมคำ ระยะทางเดิน 3 วัน ส่วนชาวเมืองนั้นอาจจะมีขอมบ้างพวกไทยที่อพยพลงมาก่อนบ้างคือคนไทย อ้ายลาว พวกละว้า กะเหรี่ยงอยู่ปะปนกัน ต่อมาสุวรรณโคมคำล่มจมในแม่น้ำโขง (หน้า 66-67) เพราะเมื่อพระเจ้าสิงหนวัติอพยพครอบครัวไทยเมืองลงมานั้นก็ได้พบไทยอ้ายลาวหรือลาวนี้มาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินปะปนกับชาวเมืองเดิม คือ พวกละว้าและกะเหรี่ยงหรือยาง คำว่า “ยางหรืออาณาจักรยางโยนก” นี้ หมอทอดอดร์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือไทยว่า ยางหรือเงินยางนี้มาจากคำว่า “ยาง”อันหมายถึง พวกกะเหรี่ยง ส่วนพวกละว้าในตำนานพื้นเมืองเดิมเรียกว่า ทมิฬ (หน้า 116 –117)
อาณาจักรล้านนาไทยเสียอิสสรภาพ ใน พ.ศ.2101 เรื่องราวแห่งแว่นแคว้นล้านนาไทยที่เป็นอิสระสืบกษัตริย์มาช้านานดังเล่ามาข้างต้น ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของชนชาวต่างชาติ แต่นั้นมาจะตกมาอยู่ในอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาก็ชั่วเวลาเป็นครั้งคราว จนตราบเท่าถึงสมัยกรุงธนบุรี จึงได้หลุดพ้นได้เด็ดขาดแต่มีโอกาสได้ไม่นาน มารวมกับประเทศสยาม ซึ่งเป็นไทยด้วยกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้นแล ในขณะที่พม่าเปลี่ยนผู้ปกครองเข้ามาปกครองเมืองเชียงใหม่บ้าง และแคว้นไทยทางเหนือเข้ามาปกครองบ้าง ในปีพุทธศักราช 2310 ทางกรุงศรีอยุธยาก็ได้เสียให้แก่พม่าเช่นกัน ในช่วงระยะเวลานั้นบ้านเมืองเกิดสับสนอลหม่าน อยู่ในลักษณะบ้านแตกสาแหรกขาด พระยาวชิรปราการ (ตากสิน) จึงได้นำกำลังทหารจำนวนหนึ่ง ตีผ่าวงล้อมของพม่าหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาได้จนสามารถรวบรวมกำลังกลับมากู้อิสรภาพคืนจากพม่าได้อีกครั้งหนึ่ง ภายหลังจากที่ได้ตั้งกรุงธนบุรีขึ้นและปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ได้ยกกำลังกองทัพขึ้นมาตีเมืองเชียงใหม่คืนจากพม่าได้อย่างสำเร็จเด็ดขาดในปีพุทธศักราช 2317 นับแต่นั้นเป็นต้นมา เมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นศูนย์กลางแห่งอาณาจักรล้านนาก็ได้ตกเป็นของไทยมาโดยตลอดจวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ และในกาลต่อมาสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนาพระยากาวิละขึ้นเป็นเจ้าครองนครเชียงใหม่ ทรงยกฐานะเป็นเจ้าประเทศราชเสมอด้วยเจ้าผู้ที่ครองนครเวียงจันทร์ขณะนั้น (ล้านนามารวมกับไทยได้เพราะไทยนี่แหละเป็นตัวการร้ายเป็นต้นเหตุ ยุยงให้ชาวล้านนาด้วยกัน แตกแยกแตกร้าวจากกันในที่สุด ก็เสียดินแดนเสียอิสรภาพรวมเข้ากับไทยเสีย *จากการบอกเล่า ของท่านพระเดชพระคุณพระสาสนโสภณ นิรันตร์ นิรนฺตโร ป.ธ. 9 เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส ตอนอายุ 80 ปี ปีในพ.ศ.2539 หมายเหตุ ต่อมาภายหลังเป็น สมเด็จพระวันรัต)
เอกสาร “พงศาวดารชาติไทย ความเป็นมาของชาติไทยแต่ยุคดึกดำบรรพ์”โดย พระบริหาร เทพธานี อ้างถึงหนังสือไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน้า 225 บรรทัด14 เรื่องไทยเมืองตองอู
ราวสมัยพุทธกาลชาติอ้ายลาวได้อพยพลงมาในแดนกะเหรี่ยง คือบริเวณที่ตั้งเมืองตองอูเดี๋ยวนี้ ณ ที่นั้นเดิมพวกกะเหรี่ยงได้สร้างเมืองชั้นราว 1,750 ปี ก่อนพุทธกาล ถิ่นฐานของพวกกะเหรี่ยงอยู่ทางตอนใต้มณฑลไกวเจาไทยสละดินแดนตั้งแต่นครปา และภาคกลางในกลุ่มน้ำแยงซีเกียง เพราะหนีการเบียดเบียนและยุทธ-ภัยจากจีนลางคราว และลางคราวจีนก็หนียุทธภัยตามเข้ามาเบียดเบียนไทยด้วย เมื่อพุทธกาลราว 50 ปี ชาติอ้ายลาวได้อพยพเข้ามาอยู่ในแดนกะเหรี่ยงในคราวนั้นมาก เพราะเหตุไทยคุ้นเคยกับพวกนี้มาก่อน เพราะมีการอพยพเป็นรายย่อยมาอยู่ก่อนอพยพใหญ่ เมื่อไทยอยู่เมืองกะเหรี่ยงก็ขยายเขตมาตั้งภูมิลำเนาทางทิศตะวันออกของกลุ่มน้ำคง จนถึงแม่น้ำโขง ต่อแดนฟูนันที่แก่งหลีผี พวกที่มาตั้งในที่ร้างเปล่าก็อิสระ ที่มาอยู่ที่มีผู้ปกครองก็อยู่ภายใต้การปกครองเป็นไพร่ของเมืองนั้นๆ นานเข้าก็อพยพตามกันมามากขึ้น ส่วนพวกที่ลงมาทางแม่น้ำคงก็สละอำนาจออกจากกะเหรี่ยงได้ลางคราว (พงศาวดารชาติไทย หน้า 226 พิมพ์ ครั้งที่ 2 พ.ศ.2496)
จากหนังสือเรื่องของชาติไทย ตอนกำเนิดชาติอ้ายลาว (หน้า 35-36) คือ คำว่า “โยนก” หรือ “ยวน” อันเป็นชื่อหนึ่งของแคว้นลานนาไทยและชื่อชนในแคว้นนั้น ซึ่งเรียกว่าไทยยวน จึงได้ค้นคว้าที่มาของคำซึ่งมากลายเป็นโยนกหรือยวนแต่ก็มีความเห็นเป็นต่างๆกัน พงศาวดารโยนกของพระยาประชาน ว่ามาจากคำว่า “ยุ่นชาง” (เวงเชี้ยง) หลักไทยของขุนวิจิตร์มาตราว่ามาจากยางซึ่งเป็นชื่อแคว้นหนึ่งของละว้า หนังสือ “HISTORICAL SKETCH OF THE SHANS BY HALT HALLET” ว่ามาจากคำ ยุน หรือยาง คือกะเหรี่ยง เพราะกะเหรี่ยงเคยเป็นใหญ่ในแคว้นโยนก นายตอเซียนโก นักปราชญ์พม่าว่า มาจากคำว่า ยุง (JUNG) ในภาษาจีนซึ่งเป็นชื่อเรียกมณฑลยูนนาน สมัยโบราณยูนนานเป็นชื่อจีน เรียกในปัจจุบัน แปลว่า เมฆแห่งทิศใต้ แต่คำว่า ยูน ในคำต้นของยูนนานปรากฏอยู่ว่าน่าจะเพี้ยนไปจากคำว่า ยุง (COCHRANE หน้า 41) คัดเอาจากหนังสือ เรื่องของชาติไทย ตอนแคว้นลานนาไทย (หน้า 190-192) สามแสน ได้อ่านพบในหนังสือฝรั่งเรื่องหนึ่ง (COCHRANE หน้า 42-43) คัดเอาเรื่องตำนานเมืองยอง (อยู่ในแคว้นสิบสองปันนา) มากล่าวไว้ว่า “เมื่อต้นพุทธกาล พวกไทยยวนอพยพกันมาในแดนนั้น กษัตริย์กะเหรี่ยง (พวกยาง) ซึ่งมีไพร่พลมากมาย เป็นใหญ่อยู่ก่อน ไทยยอมอยู่ในปกครองของกะเหรี่ยง กะเหรี่ยงจึงยอมให้ไทยสร้างบ้านแปลงเมืองเถื่อนในเขตต์แดนของตน มีสร้างเมืองรุ้ง,เชียงตุง,เชียงแสน,เมืองแลม,และเมืองมีค่ายปราการ คือเมืองเชียงช้างฝ่ายต่อมามีพวกมาก จึงมีกำลังมากกว่าขึ้น ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจใครจึงคิดอุบายเชิญ กษัตริย์กะเหรี่ยงมากินเลี้ยง ที่เวียงช้างแล้วปิดประตูเมือง จับกษัตริย์กะเหรี่ยงฆ่าเสีย ดังนี้”
เอกสาร “ชาวเขาในในไทย” โดยบุญช่วย ศรีสวัสดิ์
ประวัติของชนชาติกะเหรี่ยงนั้น นักประวัติศาสตร์ฝรั่งบางท่านสันนิษฐานว่า เป็นพวกสืบเชื้อสายมาจากชาติโจว ซึ่งอพยพเข้ามาอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนเมื่อประมาณ 733 ปี ก่อนพุทธกาล หรือประมาณ 3,231 ปีล่วงมาแล้ว ภายหลังได้เป็นใหญ่ในแผ่นดินจีนเมื่อพุทธกาล 633 ปี จนถึง พ.ศ.207 ปี เริ่มแตกพ่ายสลายตัวโดยการรุกรานจากกษัตริย์ในราชวงศ์จิ๋น จึงอพยพลงมาลงมาตามลำน้ำแยงซีเกียง ได้ต่อสู้กับพวกไตแห่งอาณาจักรน่านเจ้าพ่ายแพ้แก่ไทยถอยร่นลงไปอยู่ในพม่าและตามชายแดนประเทศไทย เพื่อมิให้ถูกชนชาติอื่นรบกวนจึงหลบหนีไปอยู่ตามภูมิภาพประเทศล้อมรอบด้วยภูเขา (หน้า 153)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น